นักวิทยาศาสตร์ในประเทศอิสราเอลสร้างตัวอ่อนมนุษย์เทียม โดยไม่ต้องใช้ ไข่ สเปริ์ม หรือ มดลูก ซึ่งอาจต่อยอดไปสู่การรักษาโรคทางพันธุกรรม รวมถึงการเพาะเนื้อเยื้อและอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย
ผลงานดังกล่าวเป็นของทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไวซ์แมนในประเทศอิสราเอล ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร “เนเจอร์” (Nature) ตั้งแต่วันพุธที่ 6 ก.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้เปิดเผยงานวิจัยฉบับล่วงหน้าเมื่อเดือน มิ.ย.ระหว่างการประชุมนานาชาติด้านสเตมเซลล์ที่สหรัฐฯ
พบอาวุธยุคโรมันในถ้ำริมทะเลของอิสราเอล ยังคมเหมือนเพิ่งถูกเอามาซ่อน
นักวิทย์พัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อให้ดำรงชีวิตบนดวงจันทร์ได้
“เพชรสังเคราะห์ในแล็บ” กำลังคุกคาม “ตลาดเพชรแท้” ในสหรัฐ?
ตัวอ่อนมนุษย์ หรือ เอ็มบริโอเทียมต้นแบบ ที่ถูกสร้างขึ้นนี้มีอายุ 14 วัน โดยเริ่มมีโครงสร้างภายในเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีองค์ประกอบพื้นฐานที่นำไปสู่การเติบโตเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม จาคอบ ฮานนา หัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่าผลงานชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ๆ ทั้งการทดสอบผลกระทบของยาที่มีต่อการตั้งครรภ์ เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการแท้งบุตร หรือโรคทางพันธุกรรม และแม้กระทั่งการเพาะเนื้อเยื่อและอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย
ส่วนขั้นตอนการสร้างตัวอ่อนมนษย์แบบไม่ใช้เสปริ์ม ไข่ หรือ มดลูก ฮานนา เปิดเผยว่าทีมงาน ได้นำสต็มเซลล์ ที่สกัดจากเซลล์ผิวหนังมนุษย์ และจากเซลล์ส่วนอื่นๆที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บ เข้าสู่กระบวนการย้อนสภาพกลับไปสู่ช่วงแรกกำเนิด ที่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์ได้หลายชนิด
จากนั้นทีมวิจัยได้กำหนดให้เซลล์เหล่านี้สร้างปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโครงสร้างคล้ายกับกับตัวอ่อนมนุษย์ โดยพบว่ามี 1 เปอร์เซนต์ ที่เกิดการเปลี่ยแปลงได้อย่างถูกต้อง โดยได้มีการเคลื่อนไหวและพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสม
โดยกระบวนการนี้สามารถสร้างตัวอ่อนมนุษย์ได้ที่อายุสูงสุดคือ 14 วัน แต่ ฮานนาและทีมวิจัย ตั้งเป้าว่าจะพัฒนาต่อไปให้ได้เป็น 21 วัน และเพิ่มอัตราความสำเร็จเป็น 50 เปอร์เซนต์
อย่างไรก็ตาม ฮานนา เตือนว่างานวิจัยชิ้นนี้อาจนำไปสู่การตั้งคำถามด้านจริยธรรมเพราะในอนาคต เพราะอาจเกิดการแทรกแซงกระบวนการที่ร่างกายมนุษย์สร้างตัวอ่อนขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
ด่วน! วิสามัญ “หน่อง” มือยิงสารวัตรทางหลวง หลังคนร้ายต่อสู้หวังหลบหนี
เลื่อนจ่าย “เงินอุดหนุนบุตร” ประจำเดือนกันยายน 2566