ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นของ ดอกเตอร์ เฟเดอริก วอลเตอร์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย สโตนี บรู๊ก (Stony Brook University ) ของสหรัฐฯ โดยวอลเตอร์ระบุว่า ปรากฏการณ์แสงวาบรังสีแกมมา (gamma-ray bursts) มีความเข้มข้นกว่าแสงสว่างจากดวงอาทิตย์หลายล้านล้านเท่า และหากส่องไปที่ระนาบกาแลกซี่ใดโดยตรง จะส่งผลให้ดาวเคราะห์ประมาณ 10% มีสภาพไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตอีกต่อไป
วอลเตอร์ ประเมินว่าปรากฏการณ์แสงวาบรังสีแกมมาจะเกิดขึ้นทุุกๆ 100 ล้านปี ในกาแล็กซีใดกาแล็กซีหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบกับเวลากำเนิดของโลกเมื่อ 4,500 ล้านปีที่แล้ว จะเท่ากับว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 45 ครั้ง และหมายความว่าอารยธรรมบนดาวอื่นๆจำนวนมากได้ถูกทำลายไปด้วย
นอกจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวแล้ว วอลเตอร์ ยังเสนออีก 2 ทฤษฎีที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกยังไม่สามารถติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวได้ โดยทฤษฏีแรกคือ สิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นอาจยังไม่ทรงภูมิปัญญามากพอที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการสื่อสาร หรือ เดินทางในอวกาศได้ ส่วนอีกทฤษฎีคือมนุษย์ต่างดาวอาจไม่ต้องการเผชิญความเสี่ยงจากการติดต่อกับรูปแบบชีวิตที่อาจนำอันตรายมาสู่อารยธรรมของตนเอง
ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ลอตเตอรี่ 2/5/67
ประกาศเตือนฉบับที่ 3 “พายุฤดูร้อน” 32 จังหวัดเตรียมรับมือ 3-4 พ.ค.
อาหารแก้อ่อนเพลีย-เหนื่อยง่าย เติมความสดชื่น จากการขาดวิตามินบางชนิด