ออสเตรเลียสั่งสอบ ตัวอย่างไวรัสอันตราย 300 ตัวอย่างหายไปจากห้องแล็บ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ตัวอย่างเชื้อเฮนดราไวรัส, ลิสซาไวรัส และฮันตาไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสอันตราย หายไปจากห้องแล็บในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตัวอย่างไวรัสที่เป็นอันตรายถึงชีวิตมากกว่า 300 ตัวอย่างได้หายไปจากห้องปฏิบัติการในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

ทิม นิโคลส์ รัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐควีนส์แลนด์ ประกาศว่า ได้เปิดฉากการสอบสวนอย่างเป็นทางการ หลังจากพบว่าตัวอย่างไวรัส 323 ตัวอย่างหายไปจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาเมื่อปี 2021 โดยเป็นผลจาก “ความผิดพลาดครั้งใหญ่” ของระเบียบขั้นตอนด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

คอนเทนต์แนะนำ
อดีตรมว.กลาโหมเกาหลีใต้พยายามจบชีวิตตัวเองระหว่างถูกคุมขัง
ผบ.หน่วยรบพิเศษเกาหลีใต้เผย “ยุน ซอกยอล” สั่งให้ลาก สส.ออกจากรัฐสภา
อิสราเอลเผย ทำลายกองเรือรบซีเรีย ชี้เพื่อกำจัดภัยคุกคาม

ออสเตรเลียสั่งสอบด่วน ตัวอย่างไวรัสอันตราย 300 ตัวอย่างหายไปจากห้องแล็บ AFP/ANGELA WEISS
ตัวอย่างไวรัสที่หายไปประกอบด้วย เฮนดราไวรัส (Hendra virus), ลิสซาไวรัส (Lyssavirus) และฮันตาไวรัส (Hantavirus)

“ชาล็อต-ณวัฒน์” แถลง เผยกลโกงมิจฉาชีพใช้เอไอหลอกสูญเงิน 4 ล้าน

คนไทยค้นหาอะไรบน Google มากที่สุดในปี 2024 ?

ตัวอย่างไวรัสที่หายไปประกอบด้วย เฮนดราไวรัส (Hendra virus) เกือบ 100 ตัวอย่าง, ลิสซาไวรัส (Lyssavirus) 223 ตัวอย่าง และฮันตาไวรัส (Hantavirus) 2 ตัวอย่าง

โดยเฮนดราไวรัสมักติดเชื้อในม้าเป็นหลัก แต่สามารถแพร่ไปสู่คนได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 57% ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ค้างคาวผลไม้เป็นพาหะตามธรรมชาติของไวรัสชนิดนี้ ซึ่งแพร่เชื้อไปสู่ม้าและมนุษย์

ส่วนฮันตาไวรัสเป็นไวรัสที่ติดต่อในสัตว์หรือติดต่อจากสัตว์สู่คนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากหนูและแพร่กระจายในมูล ปัสสาวะ และน้ำลายของหนู หากมนุษย์ติดเชื้อ จะทำให้เกิดอาการเป็นไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย และปอดเต็มไปด้วยของเหลว ตามข้อมูลของศุนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ไวรัสนี้มีอันตรายถึงชีวิตประมาณ 38%

ขณะที่ลิสซาไวรัสเป็นโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ชนิดหนึ่งที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ได้

ดูเหมือนว่าไวรัสเหล่านี้จะหายไปหลังจากที่ตู้แช่แข็งที่ใช้เก็บตัวอย่างเกิดพัง

นิโคลส์กล่าวว่า ตัวอย่างหายไปตั้งแต่ 2021 แต่เพิ่งได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ส.ค. 2023 และห้องปฏิบัติการไม่สามารถระบุได้ว่า ตัวอย่างเหล่านี้ถูกกำจัดหรือทำลายไปแล้วหรือไม่

นิโคลส์บอกว่า “ส่วนของการถ่ายโอนตัวอย่างเหล่านี้คือสิ่งที่สร้างความกังวล พวกมันถูกย้ายไปยังตู้แช่แข็งที่ใช้งานได้โดยไม่มีการกรอกเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเหล่านี้อาจถูกนำออกจากที่เก็บที่ปลอดภัยและสูญหายหรือไม่สามารถระบุได้ด้วยวิธีอื่น”

ทั้งนี้ เบื้องต้นไม่มีข้อบ่งชี้ว่าตัวอย่างถูกนำไปหรือถูกขโมยจากห้องปฏิบัติการ

ด้านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ดร.จอห์น เจอราร์ด กล่าวว่า เรื่องนี้มีความร้ายแรงก็จริง แต่ความเสี่ยงต่อชุมชนหรือสังคมนั้นต่ำมาก

“สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ ตัวอย่างไวรัสเหล่านี้จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ภายนอกตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำและไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ... ไม่มีการตรวจพบกรณีไวรัสเฮนดราหรือไวรัสลิสซาในมนุษย์ในควีนส์แลนด์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และไม่มีรายงานการติดเชื้อฮันตาไวรัสในมนุษย์เลยในออสเตรเลีย” เจอราร์ดกล่าว

ด้าน ดร.พอล กริฟฟิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ กล่าวว่า ไม่ควรเกิดความผิดพลดาในการจัดเก็บไวรัสอันตรายดังกล่าว “ระบบและกระบวนการในห้องปฏิบัติการที่จัดการกับเชื้อโรคร้ายแรงดังกล่าวนั้นมักจะแข็งแกร่งและเข้มงวดมาก ... ดังนั้น จึงน่าผิดหวังมากที่ได้ยินเรื่องความผิดพลาดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเพิ่งได้ทราบเรื่องนี้”

ดร.กริฟฟินกล่าวว่าห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องอธิบายอย่างชัดเจนว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้อย่างไร “เราต้องแน่ใจว่า เราสามารถฟื้นความเชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อห้องปฏิบัติการของเราที่ทำหน้าที่สำคัญดังกล่าวได้ เราต้องมั่นใจว่าห้องปฏิบัติการกำลังทำในสิ่งที่เราต้องการให้พวกเขาทำ”

เมื่อถูกถามว่าเหตุใดจึงไม่ได้แจ้งให้สาธารณชนทราบเกี่ยวกับการละเมิดเร็วกว่านี้ นิโคลส์กล่าวว่า นั่นเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องได้การตรวจสอบ “ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่การสอบสวนจะสามารถให้ข้อมูลแก่เราได้”

 

เรียบเรียงจาก ABC News

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ