วันนี้ 3 ก.ย. 2563 น.ส.ภัทราพร อาจหาร วัย 46 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เปิดเผยว่า เธอเคยทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวางแผนซ่อมบำรุงในเหมืองมากว่า 7 ปีก่อนที่เหมืองจะปิดตัวลงในเดือนม.ค.ปี 2560 โดยสาเหตุที่ตัดสินใจเข้าไปทำงานในเหมือง เพราะสามีแนะนำมา โดยสามีทำงานเป็นช่างไฟตั้งแต่เหมืองเริ่มเปิดในปี 2543
เปิดใจ กรรมการบริษัทอัคราฯ เชื่อ หากรัฐไม่ใช้ ม.44 สั่งปิดเหมืองไม่ได้
น.ส.ภัทราพร เล่าว่า ขณะที่ทำงานในเหมือง เธอได้รับเงินเดือนเดือนละ 30,000 บาท ส่วนฐานเงินเดือนสุดท้ายของสามีคือ 27,000 บาท รวมต่อปีทั้งคู่จะมีรายได้ 684,000 บาท โดยเหมืองมีสวัสดิการอาหารกลางวัน และเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ทุกอย่าง แต่หลังจากเหมืองต้องปิดตัวลง ทั้งตนเองและสามีก็ขาดรายได้ประจำ ต้องหันมาทำนาหาเลี้ยงชีพ เหลือรายได้ต่อปีราว 200,000 - 250,000 บาท ซึ่งตนเองและสามีต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 8 ขวบด้วย ทำให้ต้องปรับวิถีการใช้ชีวิต ใช้เงินประหยัดขึ้นและออกไปเที่ยวนอกบ้านน้อยลง ส่วนตัวจึงหวังว่ารัฐบาลไทยจะสามารถไกล่เกลี่ยกลับ บ.คิงส์เกต และอนุญาตให้กลับมาเปิดเหมืองได้เพื่อที่ตนเองจะได้กลับเข้าไปทำงานในเหมืองอีกครั้ง
“ประยุทธ์” ลั่น สั่งปิดเหมืองทองอัครา ทำในฐานะนายกฯ
ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งร้องเรียนว่าเหมืองมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเพราะขัดผลประโยชน์มากกว่า เพราะตนเองทำงานในเหมืองมาหลายปีไม่เคยมีปัญหาสุขภาพ