สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีเป้าหมายที่จะสร้างเขื่อนทั้งสิ้น 100 โครงการ เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า โดยในปัจจุบันมีแหล่งผลิตไฟฟ้าแล้ว 53 แห่ง กำลังติดตั้ง 7,082 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 แห่ง คือโรงไฟฟ้าหงสา ขณะที่ส่วนใหญ่เป็นเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ
ซึ่งภายในปี 2563 จะมีแหล่งผลิตไฟฟ้าอีก 47 แห่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถึงเวลานั้นจะทำให้ สปป.ลาวมีแหล่งผลิตไฟฟ้าถึง 100 แห่ง หรือ 100 หม้อไฟ ในจำนวนนี้ 99% เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจำนวน 13,862 เมกะวัตต์ สปป.ลาว ก็จะกลายเป็นประเทศที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียนได้โดยมีในสัดส่วน 85% ส่วนอีก 15% ของพลังงานไฟฟ้า จะถูกนำมาใช้ภายในประเทศ
สำหรับแผนการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า สปป.ลาวกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งส่งออกไปยังประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยไทยเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของไฟฟ้าจากลาว คิดเป็นปริมาณที่ไทยซื้อจากลาวประมาณปีละ 10,000 เมกะวัตต์ และเวียดนามประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคต ลาวมีแผนจำหน่ายกระแสไฟฟ้าผ่านไทยและมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ประมาณ 100 เมกะวัตต์ต่อปีและไปยังเมียนมา 200 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้เป็นเป้าหมายในปี 2020
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไทยเป็นลูกค้ารายสำคัญที่ซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว รวมถึงมีการร่วมลงทุนสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าด้วย หนึ่งในนั้นคือเขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย โดยมีบริษัท ไฟฟ้า เซเปี่ยน-เซน้ำน้อย จำกัด (PNPC) เป็น บริษัทร่วมทุน จัดตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 2555 โดยประกอบด้วย บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ถือหุ้น 25%, บริษัท SK Engineering and Construction (SK E & C) ถือหุ้น 24%, บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) ถือหุ้น 25% และ บริษัท Lao Holding State Enterprise (LHSE) ถือหุ้น 26%
สำหรับ "เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย" ตั้งอยู่ที่แขวงจำปาสัก ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 80 กิโลเมตร ในพื้นที่ สปป.ลาว ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 แขวง คือ แขวงจำปาสักกับแขวงอัตตะปือ เป็นเขื่อนหินถม มีทางระบายน้ำล้นเป็นคอนกรีตความสูง 48 เมตร ยาว 1,300 เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำประมาณ 31 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2556 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับ บริษัท ไฟฟ้า เซเปี่ยน-เซน้ำน้อย โดย กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าประมาณ 354 เมกะวัตต์ ที่จุดส่งมอบไฟฟ้าชายแดนไทย-ลาว คิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 1,575 ล้านหน่วยต่อปี อายุสัญญา 27 ปี มีจุดเชื่อมโยงระบบส่ง 500 เควี ฝั่งลาวที่สถานีไฟฟ้าปากเซ และฝั่งไทยที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 โครงการ กำหนดเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้ กฟผ. ในปีหน้า 2562
ซึ่งจุดที่แตกจนมีมวลน้ำมหาศาลทะลักออกมานั้น เป็นส่วนหนึ่งในเขื่อนย่อยที่อยู่ในพื้นที่ด้านในสุด ซึ่งมวลน้ำจะไหลลงแม่น้ำเซเปี่ยนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงและเข้าสู่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าพื้นที่เมืองปากเซจะมีระดับน้ำที่สูงขึ้น
แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับเขื่อนแตกใน สปป.ลาว แล้วถึง 3 ครั้ง (รวมครั้งนี้) โดยช่วงเดือน ก.ย. ปี 2560 “เขื่อนน้ำอ้าว” ในเขตผาชัย จังหวัดเชียงขวางของ สปป.ลาว ที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างแตก ทำให้มวลน้ำมหาศาลไหลทะลักมาพร้อมกับดินโคลนและท่อนซุง โดยครั้งนั้นเว็บไซต์สำนักข่าว KPL ของทางการลาว เปิดเผยว่าพื้นที่การเกษตรในเขตท่าโทม ในจังหวัดไชยสมบูรณ์ ถูกน้ำท่วมหลายแห่ง แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยเขื่อนน้ำอ้าวเป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้า 12 เมกะวัตต์ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2558
และถ้าย้อนไปเมื่อปี 2559 อุโมงไฟฟ้าของเขื่อนเซกะมาน
ขอส่งกำลังใจไปให้ประชาชนในแขวงอัตตะปือ สปป.ลาว ผ่านพ้นวิกฤตนี้อย่างปลอดภัย
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ "เขื่อนลาวแตก" เพิ่มเติมได้ที่
ย้อนรอยเหตุเขื่อนแตกครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์
สปป.ลาว เขื่อนแตก ตาย 20 สูญหายนับร้อย
วิกฤต!! สปป.ลาว เขื่อนแตก กว่า 6,000 คนไร้บ้าน
กระทรวงต่างประเทศ ยันเขื่อนลาวแตกไม่กระทบคนไทย
ขอบคุณข้อมูล เฟซบุ๊ก เป็นเรื่อง เป็นลาว