ความต่าง "หมอชนะ-ไทยชนะ" ใช้คู่กันห่างไกลโควิด-19

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ตลอดระยะเวลาที่ผา่นมา หนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือการใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ และเมื่อการแพร่ระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น แอปพลิเคชั่นหมอชนะ จึงเกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ควบคุู่กัน ซึ่งทั้ง 2 แอปมีความแตกต่างกันในรายละเอียด คือ

มาทำความรู้จัก "หมอชนะ" โดยข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) บอกว่า หมอชนะเป็นแอปพลิเคชันที่บันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code เช่น ไทยชนะ เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่าง ๆ  ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรคและบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว

ศบค. ลั่น ใครติดโควิด-19 ไม่ติดตั้งแอปฯ “หมอชนะ” ถือว่าละเมิดกฎหมาย

ผู้ใช้แอปฯ “หมอชนะ” งง ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 คลาดเคลื่อนหรือไม่

ศบค.เตรียมเปิดตัว แอปฯ "ไทยชนะ" สแกนเช็กอิน-เช็กเอาท์

โดยหมอชนะจะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อ Covid-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

แอปฯ หมอชนะ ใช้งานอย่างไร...

แอปฯ หมอชนะจะคอยส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ  โดยแอปฯ จะทำการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานและสามารถตรวจพบความเสี่่ยงของผู้ใช้งานหากมีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย  Covid-19

ผู้ใช้งานที่มีความเสี่ยงจะได้รับข้อความแนะนำวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องจากกรมควบคุมโรค ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน ซึ่งแอปพลิเคชันถูกออกแบบไม่ให้กระทบต่อเสรีภาพของผู้ใช้งานและระมัดระวังการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

แอปฯ หมอชนะ มีการเก็บข้อมูลบุคคลหรือไม่

แอปฯ หมอชนะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเท่าที่จำเป็น คือส่วนที่เกี่ยวข้องและพอเพียงต่อขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับคำแนะนำวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19

โดยจะมีการเก็บข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังโทรศัพท์มือถือและบันทึกการเดินทางของผู้ใช้งาน เพื่อที่จะสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนและคำแนะนำในการปฏิบัติตนไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือในกรณีที่ผู้ใช้งานมีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย  Covid-19

 

แอปฯ หมอชนะ เป็นของหน่วยงานใด

แอป “หมอชนะ” เป็นผลลัพธ์ของการผนึกกำลังระหว่าง “ทีมพัฒนาร่วมประชาชน เอกชนและภาครัฐ”  โดยกรมควบคุมโรคทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนั้นโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจจำนวนมาก

ต่อมาคือ แอปพลิเคชันไทยชนะ

คุ้นเคยกันต้ั้งแต่ช่วงการระบาดรอบแรก ปี 2563 เริ่มใช้งานตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2563 พัฒนาโดยธนาคารกรุงไทยร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หลังรัฐบาลเริ่มอนุญาตให้เปิดร้านค้าภายในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าเป็นวันแรกหลังการสั่งปิดกิจการชั่วคราวเป็นเวลาราว 2 เดือน (คลายล็อก) แอปพลิเคชัน ไทยชนะ จะใช้สแกนก่อนเข้าใช้บริการร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่างๆ ฯลฯ เพื่อเป็นระบบลงทะเบียนออนไลน์ เก็บข้อมูลการเข้าใช้งานในพื้นที่สาธารณะของประชาชนเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการระบาดทั่วในประเทศไทยของโควิด-19

โดยก่อนเข้ารับบริการจะสแกนเพื่อ  "เช็คอิน" ก่อนเข้าไปในพื้นที่ และให้ "เช็คเอาท์" 

ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลเพียงผู้เดียว เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตามข้อมูลและกักโรค ขณะที่ระบบลงทะเบียนออนไลน์นี้เป็นของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักของ ไทยชนะ คือเพื่อ "ประเมินความหนาแน่นของสถานประกอบการ เพื่อให้ร้านค้าสามารถบริหารจัดการและช่วยผู้ใช้ในการตัดสินใจว่าจะไปใช้บริการหรือไม่" และ "เพื่อการสอบสวนโรค ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด จากพิกัดสถานที่ที่บุคคลเข้าใช้บริการร้านค้า"

เมื่อการแพร่ระบาดโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง ศบค. จึงพยายามรณรงค์ให้ใช้ทั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ และ ไทยชนะ ควบคู่กัน เพื่อง่ายต่อการติดตามไทม์ไลน์ของตัวผู้ป่วยและลดความเสี่ยงกับบุคคลอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบ 

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ