แนะ 3 ชนิดกีฬาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไว้ออกกำลังกายและควรทำอย่างไม่หักโหม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




น่าจะเป็นข้อสงสัยอยู่ว่า คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ วันนี้เรามีวิธีการออกกำลังกายแบบไม่หักโหมกระทบร่างกายมาบอกกัน

หลายคนที่กำลังป่วยเป็นโรคหัวใจ คงคิดว่าตัวเองไม่สามารถออกกำลังกายได้เป็นแน่ เพราะมันจะกระทบกับอาการที่เป็นอยู่ แต่ทางการแพทย์ ยืนยันแล้วว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ เพราะนั้นจะเป็นการช่วยบริหารหัวใจให้มีการสูบฉีดเลือด โดยในการออกกำกลังกาย ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น 
 

29 ก.ย. "วันหัวใจโลก" World Heart Day รักหัวใจ ต้องดูแลหัวใจ

"การควบรวมกิจการ" วิถีการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงวิกฤต

สำหรับกิจกรรมที่เหมาะกับผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจใช้ออกกำลังกายมีดังนี้ 
1.  โยคะหรือไทเก็ก เพราะเป็นกิจกรรมการออกกำลังโดยการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล
และช่วยควบคุมความดันโลหิต 

2. แอโรบิคหรือคาร์ดิโอ การเดิน การว่ายน้ำ วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือปั่นจักรยาน เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรเดิน 6,500 – 8,500 ก้าวต่อวัน เน้นสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วงแรกควรเริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ไม่หักโหมจนเกินไป จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายตมความเหมาะสมของร่างกาย ลดความดันโลหิต ช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น

3. เวทเทรนนิ่ง เป็นการฝึกกล้ามเนื้อที่อาศัยการใช้น้ำหนักให้เกิดแรงต้าน สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยเรื่องการทรงตัว ไม่ควรเริ่มเวทเทรนนิ่ง (หรือการออกกำลังกายที่มีแรงต้าน) เองที่บ้าน โดยไม่ได้รับอนุญาตและคำแนะนำจากแพทย์และนักกายภาพบำบัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจควรจะผ่านโปรแกรมฟื้นฟูหัวใจอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หลังกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจก่อนเวทเทรนนิ่ง

อยากลดความเสี่ยงติดโควิด แค่ลุกขึ้นมาออกกำลังกายเป็นประจำ

กลืนหมากฝรั่ง ลงท้องแม้ไม่เป็นอันตรายกับระบบในร่างกาย แต่ก็ไม่ควรทำ

 

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จักเครื่อง ECMO  พยุงหัวใจและปอดให้ผู้ป่วยโควิด-19
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกแบบไหนเสี่ยง?

 

ที่มา 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ