กรมวิทย์ฯ ย้ำ เก็บตัวอย่าง ATK แค่โพรงจมูกพอ ไม่แนะนำแยง "ต่อมทอนซิล" เอง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำวิธีมาตรฐานในการตรวจ ATK ว่า ใช้ปั่นจมูก 2 ข้าง ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแยงในจุดอื่น เพื่อหวังเพิ่มโอกาสเจอเชื้อ เพราะมันจะเสี่ยงอันตราย

นักวิชาการชี้ ATK ตรวจสายพันธุ์โควิดไม่ได้

ไทย ยังไม่พบ “ฟลูโรนา” กรมวิทย์ฯ ชี้ไข้หวัดใหญ่-โควิด ผสมเกิดไฮบริดไม่ได้

ที่มาของประเด็นนี้ ก็เริ่มจากที่  อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์คลิป แนะนำวิธีใช้ชุดตรวจATK แบบโฮมยูส   โดยระบุว่า ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของเชื้อโอมิครอน  [MOS]อยากเน้นสาธิตให้ดูเป็นพิเศษคือ วิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อให้ได้ปริมาณเยอะ  เพื่อลดอาการเกิดผลลบปลอม หรือ false negative นั้นคือ ควรจะเก็บตัวอย่างเชื้อที่ในช่องคอ บริเวณทอนซิล ก่อนที่จะมาเก็บในโพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง  ซึ่งอาจารย์บอกว่าจะได้ผลดีกว่าการเก็บแค่ในโพรงจมูกอย่างเดียว

ล่าสุดวันนี้ (7 ม.ค.65)  นักข่าวก็ได้ไปสอบถาม นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ว่า  ข้อแนะนำในการตรวจ ATK ชนิดแยงจมูกมาแยงต่อมทอนซิลก่อนแยงจมูกจะเพิ่มโอกาสในการเจอเชื้อได้มากกว่า จริงหรือไม่  ซึ่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ก็ให้คำตอบว่า  โดยหลักการช่องคอ กับโพรงจมูก เป็นช่องเดียวกันอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนี้กับชุดตรวจโฮมยูส เพราะประชาชนไม่ได้มีความชำนาญ จึงเสี่ยงเป็นอันตรายอย่างอื่นได้

 ทั้งนี้วิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานของ ATK ชนิดที่ประชาชนใช้เอง หรือ Home Use นั้น คือการแยงจมูกราว ๆ 2-3 เซนติเมตร ปั่นข้างละ 5-6 รอบ แล้วตรวจด้วยน้ำยาที่มากับชุดตรวจ นี่คือวิธีมาตรฐานที่ปฏิบัติ ยังไม่มีที่ไหนนำไปตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ใครที่จะทำพิสดารนอกเหนือจากนั้นคงแล้วแต่ แต่ถ้าวิธีมาตรฐานคือแยงจมูก 

 

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กล่าวต่อว่า การตรวจหาเชื้อโควิด -19 ด้วยชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการประเมินการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นั้นมีการกำหนดมาตรฐานความไวอยู่ที่ 90 % และความจำเพาะ 98% ดังนั้นถึงไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์บ้างแต่ยังสามารถตรวจเจอเชื้อได้ ทั้งอัลฟา เดลตา และโอมิครอน

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ