ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลายคนคงได้อ่านข่าว กรณีหญิงสาวรายหนึ่ง ไปเรียนดำน้ำ แล้วประสบอุบัติเหตุขณะเรียน จนนำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้คนที่สนใจอยากไปเรียนดำน้ำ จึงเกิดความกังวล ว่าจะไปลงเรียนดำน้ำดีหรือไม่? ขณะเดียวกัน ยังส่งผลถึงผู้ที่กำลังเรียนดำน้ำอยู่ในตอนนี้ ว่าควรจะเรียนต่อ หรือหยุดแต่เพียงเท่านี้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีวิธีสามารถจัดการความคิด ให้พ้นวิกฤตเหล่านี้ไปได้
รู้สึกเศร้า อึดอัด! กทม.เปิดพื้นที่ระบายความในใจ ผ่านเว็บไซต์บ่นบ่น
“ออย ธนา” เปิดใจโสดแล้ว โฟกัสที่ลูก ผ่านช่วงเวลาเศร้า ได้คนกลางไกล่เกลี่ย
แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักอาการแพนิก ตอนที่เราดำน้ำ ทีมข่าว PPTV Online จะพาทุกท่าน ไปรู้จักพื้นฐานของโรคแพนิก หรือ Panic Disorder ก่อน ว่าคืออะไร
โรคแพนิค เกิดจากฮอร์โมนลด หรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วนจึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ผู้ป่วยโรคแพนิคมักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิก ก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัย และอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิค
อาการของโรคแพนิค
- ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
- เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อนๆ
- หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
- วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
- รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
- ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้
หลายคนหลงไหลภาพความสวยงามใต้ท้องทะเล ไม่เพียงดูจากภาพถ่ายหรือวีดีโอตามสารคดีช่องต่างๆ เท่านั้น การลงเรียนดำน้ำจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติใต้ท้องทะเล
อาการ “แพนิกขณะดำน้ำ” บางคนเริ่มดำน้ำ หรือ ดำน้ำมานานแล้ว หรือเป็น Dive Master ก็สามารถแพนิกได้ เพราะการดำน้ำคือการที่เราไปเที่ยว ในสถานที่ใหม่ๆ ที่เราไม่คุ้นเคย บางทีเหตุการณ์ทำให้เรากังวล ไม่สบายใจ และวินาทีเดียวก็เป็นได้ หลายคนจึงล้มเลิกความคิดการดำน้ำ และกลัวการอยู่ใต้ท้องทะเลไปทันที
รู้จักอาการแพนิก ขณะดำน้ำ
ผู้ดำน้ำจะเกิดความรู้สึก ตาเบิกกว้าง กังวล อึดอัด อยากถอดหน้ากาก หายใจไม่ออก อยากถอด Regulator รู้สึกเหมือนจะตาย อยากตีขาขึ้นจากน้ำ
จู่ๆ มีอาการ “แพนิกขณะดำน้ำ”
- ถ้าน้ำเข้าตา – ให้หลับตา แล้วตั้งสติก่อน
- ถ้าน้ำเข้าจมูก – ให้เอานิ้วบีบจมูก แล้วตั้งสติก่อน
- หน้ากากหลุด – ให้เอานิ้วบีบจมูก จับหน้ากากไว้ แล้วตั้งสติ ค่อยๆ ใส่หน้ากากกลับเข้าที่เดิม
- ถ้าหายใจไม่ออก – ให้เอานิ้วบีบจมูก ท่องไว้ว่า เราหายใจทางปากได้ แล้วตั้งสติ
- ถ้าเหนื่อย หอบ ตีขาสู้กระแสน้ำไม่ไหว – ให้เกาะหิน แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ ตั้งสติไว้ก่อน
นายทรงวุฒิ เรืองจันทร์ หรือ เป้ ผู้รักและชอบการดำน้ำมาเป็นเวลา 5 ปี และ กำลังฝึก Dive Master Training (DMT) เล่าให้ทีมข่าว PPTV Online ว่า ก่อนไปดำน้ำ 1 คืน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ 7 – 8 ชั่วโมง ที่สำคัญห้ามดำน้ำลำพังเพียงคนเดียว แต่ ! ควรมีคู่บัดดี้ขณะดำน้ำด้วย
ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ดำน้ำให้อยู่ในสภาพดี หากเกิดการชำรุดให้เปลี่ยน เพราะหากอุปกรณ์เกิดการชำรุดใต้น้ำ ก็จะเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดอาการแพนิกได้ หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นใต้น้ำ ขอให้ทุกคนตั้งสติ คิดถึงวิธีการแก้ปัญหา เพราะทุกการแก้ปัญหาใต้น้ำ ได้ถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้ว จากการเรียนดำน้ำของแต่ละสถาบัน
“ หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นใต้น้ำ ให้ตั้งสติและใจเย็น คิดถึงวิธีการแก้ปัญหา เพราะทุกการแก้ปัญหาใต้น้ำได้ถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วจากการเรียนดำน้ำของแต่ละสถาบัน ครู หรือคู่บัดดี้ เป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีสุด แต่ ! จะต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์ในการดำน้ำมาเป็นระยะเวลานาน”
อย่างไรก็ตาม หากเราแพนิกแล้ว ก็ไม่เป็นไร แต่ท่องไว้ว่าการแพนิกเป็นเรื่องปกติ ขออย่ายอมแพ้ อย่าคิดเลิกดำน้ำ เพราะถ้ายอมแพ้ ประสบการณ์ดำน้ำครั้งที่แพนิก จะทำให้การดำน้ำเป็นประสบการณ์ไม่ดีติดตัวคุณตลอดไป แต่ถ้าเราสู้ต่อไป ดำน้ำอีกเรื่อยๆ ประสบการณ์ที่ดีในครั้งใหม่ จะทำให้ทุกคนเอาชนะใจตัวเองได้
ข้อคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล , โรงเรียนสอนดำน้ำอันนาพาดำ
คุณมีวิธีรับมืออาการตื่นตระหนกจาก "โรคแพนิค" อย่างไร
กรมสุขภาพจิตแนะ “ผู้หญิง” ลดเครียด..“อย่าแบกทุกอย่างไว้คนเดียว”