ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของแต่ละคนไม่น้อย จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คนที่ติดเชื้อเองก็ต้องกักตัวหรืออาจเป็นกังวลว่าตัวเองจะแพร่เชื้อสู่คนอื่น แต่จากปัญหานี้ เราก็ได้เห็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ นั่นก็คือการที่หมอหรือบุคลากรทางการแพทย์วิดีโอคอลพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อตรวจอาการ ซึ่งเราเรียกวิธีการหาหมอแบบนี้ว่า Telemedicine (เทเลเมดิซีน)
แอปฯ SPRING UP เปิดตัว 2 ฟีเจอร์สุดเจ๋ง! ที่ช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหาร
โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์มือถือ Nomophobia ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิต
คำว่า Telemedicine เป็นการผสมระหว่างคำว่า Tele ที่มีความหมายว่าไกลหรือทางไกล กับคำว่า Medicine ที่แปลว่าการรักษา พอสองคำนี้มาเจอกันจึงหมายถึงการรักษาหรือการหาหมอแบบทางไกล โดยมีชื่ออย่างทางการแบบไทย ๆ ว่าโทรเวชกรรม
รูปแบบของ Telemedicine ก็คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยหรือเข้ารับการตรวจจากแพทย์โดยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาล เป็นการพลิกแพลงเอาเทคโนโลยีง่าย ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมหาศาล
Telemedicine เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยลดปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ประโยชน์หลัก ๆ ของ Telemedicine ก็คือความสะดวก เราสามารถหาหมอได้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก ขอแค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างสมาร์ตโฟน แท็บเลต หรือแล็ปท็อป ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พกติดตัวแทบจะตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแค่สองอย่างนี้ ร่วมกับแอปพลิชันที่ให้บริการก็เพียงพอแล้วกับการหาหมอแบบ Telemedicine
ด้วยการพูดคุยกับหมอผ่านวิดีโอคอลที่เป็นการสื่อสารพื้นฐานในยุคปัจจุบัน เราจึงไม่ต้องเรียนรู้หรือเตรียมตัวให้ยุ่งยาก ไม่ว่าใครก็ใช้ได้
Telemedicine จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากสถานพยาบาล อย่างตามชนบท บนเขา บนดอย บนเกาะ หรือแม้แต่คนในเมืองเอง ที่ไม่อยากฝ่ารถติดไปโรงพยาบาลก็สามารถใช้ Telemedicine ได้เช่นกันครับ
เมื่อไม่ต้องเดินทาง แน่นอนว่าค่าใช้จ่าย อย่างค่าโดยสารและค่าน้ำมันก็ลดลงตามไปด้วย ช่วยให้ประหยัดได้มากขึ้นในยุคเศรษฐกิจซบเซา
ประโยชน์ข้อต่อมาคงหนีไม่พ้น ข้อดีในเรื่องการประหยัดเวลา เพราะ Telemedicine ครอบคลุมถึงการจองคิวตรวจล่วงหน้าที่เราสามารถเลือกเวลาได้เอง หรือหากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็คุยกับหมอได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
และยังไม่ต้องเสียเวลาเดินทางหลายชั่วโมงเพื่อเข้ามาตรวจภายในเมือง สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และยังประหยัดเวลาในการรอคิวเข้ารับการตรวจ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและระยะทาง สะดวกเมื่อไหร่ ว่างตอนไหนก็โทรได้เลย
มาถึงประโยชน์ข้อสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย เพราะ Telemedicine เป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะเมื่อผู้ป่วยไม่ต้องออกจากบ้านเพื่อไปหาหมอ ความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อก็ลดน้อยลง ไม่ใช่แค่โรคโควิด-19 เท่านั้น หากเรานำ Telemedicine มาใช้มากขึ้น อัตราการแพร่กระจายของโรคติดต่อชนิดอื่น ๆ ก็ลดลงด้วย อย่างโรคหวัดและโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบได้ตลอดทั้งปี
"โรคซึมเศร้า" หายได้ มีความเสี่ยงต้องรีบพบแพทย์!
3 ปัจจัยหลักที่ทำให้นอนไม่หลับ ส่งผลต่อสุขภาพ