ค้นหาสาเหตุโรคท้องผูก…!!
สาเหตุของการเกิดโรคก็มีหลายปัจจัย ทั้งเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีโรคประจำตัว หรือการใช้ยาบางชนิด ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน โรคท้องผูกเกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยลำไส้มีการบีบตัวน้อยหรือเคลื่อนตัวช้า ทำให้ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากลำไส้ได้ตามปกติ จึงเกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน เมื่อร่างกายมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ ทำให้อุจจาระยิ่งแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ขับถ่ายได้ลำบาก
ท้องผูกบ่อย ๆ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ลองปรับชีวิตประจำวันก่อนกินยา
“ท้องผูก” สัญญาณที่ถูกมองข้าม จุดเริ่มต้นสารพัดโรค
สังเกตอาการท้องผูก..!!
•อุจจาระเป็นก้อนแข็งและมีขนาดใหญ่
•ขับถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติและใช้เวลานานกว่าปกติ
•ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
•ท้องอืด มีลมในท้องมาก
•รู้สึกขับถ่ายไม่สุด หรือ รู้สึกเจ็บและเกร็งขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ
เช็กพฤติกรรมแบบไหนที่ บอกว่า ท้องผูก..!!
•กลั้นอุจจาระบ่อย หรือไม่ยอมถ่ายให้เป็นเวลา พฤติกรรมนี้เหมือนเป็นการ “ห้าม” การทำงานของลำไส้ เมื่อทำบ่อยเข้า ลำไส้จึงปรับพฤติกรรมให้หยุดทำงานไปเองก่อนโดนห้ามจากร่างกาย
•ชอบทานยาระบาย ติดยาระบาย ซึ่งยาระบายจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้แบบ “ฝืนธรรมชาติ” พอกระตุ้นแบบฝืนธรรมชาติบ่อยๆ ทำให้ลำไส้ชินกับการถูกกระตุ้นด้วยยา จึงไม่ทำงานเองตามธรรมชาติ รอถูกกระตุ้นอย่างเดียว เรียกอีกอย่างได้ว่า “โรคลำไส้ขี้เกียจ” เมื่อหยุดยาก็จะกลับมาท้องผูกซ้ำอีก
•พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์น้อย และชอบรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูปเป็นประจำ
•ขาดการออกกำลังกาย
•มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
ปรับไลฟสไตล์..!!
•การรับประทานโพรไบโอติกซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีอย่างต่อเนื่องในทุกวัน มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและการขับถ่ายที่เป็นปกติ
•ทานพรีไบโอติก หรือผัก-ผลไม้ เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งพรีไบโอติกเป็นใยอาหารช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น และเป็นอาหารให้โพรไบโอติกมีประสิทธิภาพมากขึ้น
•เข้าห้องน้ำขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยอาจเข้าห้องน้ำหลังตื่นนอนเป็นประจำแม้จะไม่รู้สึกอยากขับถ่ายก็ควรลองนั่งดูก่อน
•ไม่กลั้นการขับถ่าย เมื่ออยากขับถ่ายควรหาห้องน้ำเข้าทันที
•ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 แก้วทุกวัน เพื่อเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้อุจจาระนิ่มตัว
•หลีกเลี่ยงการทานยาระบาย รวมถึงสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย เช่น มะขามแขก เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของลำไส้ ทำให้ลำไส้ไม่ขับถ่ายเอง แต่รอการกระตุ้นอย่างเดียว
•ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของระบบย่อยอาหารและลำไส้
เพราะจุลินทรีย์ในร่างกายของเราทุกคนแตกต่างกัน การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและการทานโพรไบโอติก ที่เหมาะกับแต่ละบุคคลจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพให้ได้ผลดี เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารของคนยุคใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพและดูแลตัวเอง ซึ่งการทานโพรไบโอติก (probiotics) ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เราควรตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้จาการตรวจอุจจาระก่อน นอกจากอาการท้องผูกแล้ว คนที่มีปัญหาเหล่านี้ก็ควรตรวจจุลินทรีย์เพื่อปรับวิถีชีวิตและเลือกการทานโพรไบโอติก (probiotics) ให้เหมาะสมด้วย
หากใครที่มีอาการเหล่านี้…ควรเข้ารับการตรวจจุลินทรีย์ เพื่อวางแผนการรักษาให้ได้ตรงจุด
•มีปัญหาเรื่องของการนอนพักผ่อน เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ และปัญหาเกี่ยวกับปวดหัวไมเกรน
•มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคอัลไซเมอร์
•หอบ หืด ภูมิแพ้
•มีอาการผิวหนังอักเสบ สิว หรือ ผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
•มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด
•ระบบการเผาผลาญไม่ดี และมีพฤติกรรมชอบกินเนื้อแดง อาหารแปรรูป หรือ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรือโรคอ้วน
•มีปัญหาระบบขับถ่าย ย่อยอาหาร แพ้อาหาร และ ลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
อยากมีสุขภาพดีต้องเริ่มดูแลจุลินทรีย์ของคุณตั้งแต่วันนี้ด้วยการตรวจสุขภาพจุลินทรีย์ที่จะช่วยวางแผนดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยง ป้องกันก่อนการเจ็บป่วย เพราะอาการท้องอืด ท้องเสียแบบเรื้อรัง อาจเกิดจากจุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล
BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier and Happier
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ไลน์ : @bdmswellnessclinic or https://lin.ee/rdIDv1A เว็บไซต์ : www.bdmswellness.com