"ตัวร้อน" เสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก จริงหรือ?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นเพชฌฆาตเงียบต่อสุขภาพ นอกจากทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตแล้ว ยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ มาจากโรคความดันสูง และโรคหัวใจ

แต่ก็ยังมีการส่งต่อข้อมูลผิด ๆ ที่บอกว่า "สระผมก่อนอาบน้ำจะทำให้เส้นเลือดสมองแตก" โดยแพทย์ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด และล่าสุดบนโลกออนไลน์ก็มีการส่งต่อข้อมูลกันอีกว่า "ถ้าในช่วงที่ร่างกายมีการอักเสบ ตัวรุม ๆ ร้อน ๆ ตลอดเวลา จำทำให้มีความเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกได้" แล้วเรื่องนี้จะเท็จจริงแค่ไหน?

นายแพทย์กรภัค หวังธนภัทร แพทย์ชำนาญการ สถาบันประสาทวิทยา ให้ข้อมูลว่า ร่างกายอักเสบ-ตัวร้อน เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกนั้น "ไม่เป็นความจริง"

สระผมก่อนอาบน้ำ ทำให้เส้นเลือดในสมองแตก?

สูดดมควันธูปนาน ๆ เสี่ยงมะเร็งปอด จริงหรือ?

ต้องย้อนไปดูก่อนว่าองค์ประกอบและลักษณะของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร เพราะถ้าหากว่าการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองในเรื่องของการติดเชื้อหรือภาวะการอักเสบที่เกิดขึ้น การที่จะไปเกี่ยวข้องกับการเกิดของภาวะเส้นเลือดสมองแตกได้ จำเป็นที่จะต้องมีการติดเชื้อหรือว่ามีการอักเสบ ภายในส่วนของระบบประสาทหรือเส้นเลือดในระบบประสาท เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเป็นเพียงลักษณะการเพิ่มของอุณหภูมิโดยที่เกิดจากการติดเชื้อหรือว่าการอักเสบของร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากระบบประสาท ก็จะไม่มีผลกับภาวะเลือดออกในสมอง

ถ้าร่างกายอักเสบจากการออกกำลังกายที่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หรือแม้กระทั่งอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นหวัดแล้วทำให้ตัวร้อน ถือว่ามีผลที่ทำให้เสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกหรือไม่? 
นายแพทย์กรภัค ก็ได้ให้คำตอบว่า ภาวะดังกล่าวไม่มีผล ดังที่กล่าวมาข้างต้น และเน้นย้ำเพิ่มว่า "ถ้าหากจะมีผลจริง ๆ คงเป็นผลจากการที่มีภาวะการติดเชื้อภายในระบบประสาทหรือหลอดเลือดของระบบประสาทเท่านั้น"

แพทย์ได้แนะนำวิธีสังเกตอาการเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตกง่าย ๆ เมื่อร่างกายติดเชื้อหรืออักเสบที่ระบบประสาทจะมีอาการปวดหัวแบบจำเพาะ และนอกจากจะมีไข้แล้วยังรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และจะรู้สึกตึง ๆ ที่บริเวณลำคอ ตรงจุดท้ายทอย ถ้าหากว่าร่างกายมีสัญญาณเหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที 
รู้ประโยชน์ของการฉีควัคซีน  ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 

เคลื่อนไหวท่าที่ไม่ถูกต้องอยู่ซ้ำ ๆ เป็นหนึ่งสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ