เมื่อพูดถึงวันสำคัญในการบูชาพระแม่อุมาเทวี หลายคนคงนึกถึง “พิธีนวราตรี” หรือ “งานแห่ประเพณีวันวิชัยทัสสมิ” พิธีที่จะมีขบวนแห่องค์มหาเทวี เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะขององค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ในภาคพระแม่ทุรคา ที่ทรงต่อสู้กับอสูรควาย (มหิงสาสูร) ที่ทรงอำนาจมากและไม่มีเทพองค์ใดสามารถทำลายลงได้ เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน กระทั่งสามารถเอาชนะเหนืออสูรร้ายได้ในวันที่ 10
งานแห่ “วันวิชัยทัสมิ” ประเพณียิ่งใหญ่ของวัดแขก เริ่มกี่โมง-แต่งกายอย่างไร
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี วัดแขกสีลม เผยกำหนดการงานพิธี "นวราตรี" และขบวนแห่ปี 2565
เปิดรูปลักษณ์แท้จริง “พระตรีมูรติ” เทพแห่งความรัก ความสมหวังทุกประการ
พระแม่อุมาเทวี และ พระศิวะ
ถือเป็นพิธีเก่าแก่ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระเวท จัดขึ้นเป็นเวลา 2 ครั้งต่อปีในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูหนาว แต่ในช่วงฤดูหนาวจะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากจะจัดพร้อมกันทั่วโลก และจะมีพิธีแห่องค์มหาเทวี
ส่วนในช่วงฤดูร้อนนั้นจะไม่มีพิธีแห่องค์มหาเทวี โดยในวันสำคัญดังกล่าวจะเรียกว่า “วสันต นวราตรี” หรือที่รู้จักกันว่า “ไจตระนวราตรี” ซึ่งแปลว่า การเฉลิมฉลองในช่วงวสันตฤดู (จุดเริ่มต้นของฤดูร้อน ประมาณช่วงมีนาคมถึงเมษายน) เพื่อสักการบูชาพระแม่อุมาเทวีทั้ง 9 ปาง
PPTV ได้โทรศัพท์ไปสอบถาม อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้สนใจและเชี่ยวชาญด้านปรัชญาอินเดียและศาสนาฮินดู ได้รับคำยืนยันว่า ให้ตรวจสอบวันที่ของ “วันไจตระนวราตรี” ได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.drikpanchang.com/calendars/hindu/hinducalendar.html ซึ่งพบว่าตรงกับ วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566
ทำให้ผู้ที่อยากบูชาพระแม่อุมาเทวีในวันสำคัญนี้ เพียงนำเครื่องสักการบูชามากราบสักการะองค์มหาเทวี แต่จะบูชาอย่างไร ควรสวดคาถาใด เราได้รวบรวมมาให้แล้วดังนี้
ทำความรู้จัก “พระแม่อุมาเทวี” ทั้ง 9 ปาง
1.) ปางไศลบุตรี (shailputri) ปางพระแม่ปารวตี ผู้เป็นธิดาของพระหิมวัต ผู้เป็นใหญ่ปกครองภูเขาหิมาลัย
2.) ปางพรหมจาริณี (bramcharini) ปางที่พระแม่อุมาเทวีออกบำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระศิวะ กระทั่งเป็นที่พอพระทัย จึงวิวาห์ด้วย
3.) ปางจันทราฆัณฐ์ (chandraghanta) ปางของพระแม่ทุรคาที่ทรงปราบอสูร ฆัณฑาและนำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลก
4.) ปางกูษมัณฑา (kushmanda) ปางที่มีรัศมีเปล่งปลั่งในสถานะผู้สร้างสรรค์จักรวาล
5.) ปางสกันธ์มาตา (skandmata) ปางอุ้มพระสกันธ (ขันธกุมาร) ไว้บนตัก แสดงถึงความรักของมารดาที่มีต่อบุตร
6.) ปางกาตยะยานี (kaatyayani) ปาง 4 กร แห่งการทำลายมารร้ายในจิตใจ ประทานสุขภาพที่แข็งแรงแก่สาวก
7.) ปางกาลราตรี (kaalratri) ปางที่มีผิวดำ หมายถึงการทำลายซึ่งอวิชชา ความโง่เขลาผู้อยู่เหนือการเวลา
8.) ปางมหาเคารี (mahagauri) ปางประทานพรให้สาวกประสบแต่ความสุขสวัสดิ์มงคล
9.) ปางสิทธิธาตรี (siddhidatri) ปางประทานโอกาสให้เหล่าเทพ ฤาษี สิทธา เทวดา คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ สาวกที่เข้าเฝ้า
เครื่องสักการะ
ดอกไม้ : ดอกไม้ที่มีสีเหลือง และสีแดง โดยเฉพาะดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ
เครื่องหอม : น้ำหอม ธูปหอม หรือ กำยาน
อาหาร : ขนมที่มีรสชาติมัน ปราศจากเนื้อสัตว์ และต้องไม่มีกลิ่นหอมแรงไป สามารถนำขนมโมทกะ หรือขนมลาดู (ขนมชนิดเดียวกับที่ถวายพระพิฆเนศมาถวายก็ได้เช่นกัน) ตลอดจนผลไม้ และธัญพืชทุกชนิด
คาถาบูชา
ก่อนการสวดบูชาพระแม่อุมาเทวี จะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ
บทสวดบูชาพระพิฆเนศ
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ” (3 จบ)
บทสวดบูชาพระแม่อุมาเทวี
- โอม ไจ มาตา ดี (สามจบ)
- โอม ชยะ ศรี ปารวตี มาตา (สามจบ)
- โอม ศรี มหา อุมาเทวะไย นะมะห์ (สามจบ)
- โอม โรคา นะเศษา นะปะหัมสิตุษฎา
- รุษตาตุกามาน สะกะลา นะภีษะตาน
ตะวามา ศะริตานาม นะวิปัน นะรานาม
ตะวามา ศะริตายา ศะระยะตาม ประยันติ (หนึ่งจบ)
สถานที่กราบสักการะพระแม่อุมาเทวี
สำหรับผู้ที่อยากไปไหว้ขอพรพระแม่อุมาเทวี สามารถไปไหว้ได้ที่
- วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขก สีลม
- พระแม่อุมาเทวี สี่แยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง
- เทวาลัยพระศรีมหากาลี พุทธมณฑลสาย 3
- วิหารพระแม่กาลี พัทยา จ.ชลบุรี
- วัดเทพมณเฑียร ถนนรัตนโกสินทร์ จ.เชียงใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : สยามคเณศ
เปิดรูปลักษณ์แท้จริง “พระตรีมูรติ” เทพแห่งความรัก ความสมหวังทุกประการ
23 พฤศจิกายน “พิธีบวงสรวงพระแม่ลักษมี 2565” บูชาอย่างไรให้ความรักดี-การงานเด่น