10 กุมภาพันธ์ 2567 ถือว่าเป็นวันดีและวังมงคลของคนไทยเชื้อสายจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนหรือวันปีใหม่ ซึ่งในวันนี้บ้านจีนจะมีกิจกรรมหลากหลายอย่างมาก ที่ครอบครัวใหญ่จะได้มาพร้อมหน้า วันดี ๆ แบบนี้พีพีทีวีไม่พลาดเอาข้อมูลดี ๆ มาฝาก หากใครยังสับสนชื่อเรียกลำดับญาติ เพราะมีมากมายเหลือเกินทั้งแบบแต้จิ๋ว แบบไหหลำ บ้านไหนใช้อะไรกันบ้าง หรือมิกซ์ รูปแบบใช้ผสม ลองมาแชร์กันได้เลย!
คำศัพท์ลำดับญาติฝ่ายพ่อ (แต้จิ๋ว)
อากง หมายถึง ปู่
อาม่า หมายถึง ย่า
แปะ หมายถึง ลุง
อึ้ม หมายถึง ป้าสะใภ้
ป๊า หมายถึง พ่อ
ม๊า หมายถึง แม่
เฮีย หมายถึง พี่ชาย
เจ่เจ้ หมายถึง พี่สาว
ตี๋ หมายถึง น้องชาย
เรา
หมวย หมายถึง น้องสาว
เตี๋ย หมายถึง อาเขย
โกว หมายถึง อา (ผู้หญิง)
เจ็ก หมายถึง อา (ผู้ชาย)
ซิ่ม หมายถึง อา (สะใภ้)
คำศัพท์ลำดับญาติฝ่ายแม่ (แต้จิ๋ว)
อากง หมายถึง ตา
อาม่า หมายถึง ยาย
กู๋ หมายถึง ลุง / น้า (ผู้ชาย)
กิ๋ม หมายถึง ป้า / น้า (สะใภ้)
ป๊า หมายถึง พ่อ
ม๊า หมายถึง แม่
เฮีย หมายถึง พี่ชาย
เจ่เจ้ หมายถึง พี่สาว
เรา
ตี๋ หมายถึง น้องชาย
หมวย หมายถึง น้องสาว
เตี๋ย หมายถึง น้าเขย
อี๊ หมายถึง น้าผู้หญิง
อากง หมายถึง ปู่
เหน่ หมายถึง ย่า
เหล่าเบ้ หมายถึง ลุง (ฝั่งพ่อ)
เบ้เด หมายถึง ลุง (ฝั่งแม่)
อาเด หมายถึง พ่อ
อามา หมายถึง แม่
เหนียนโบ่ หมายถึง ป้า
โกหม่าย หมายถึง อา (น้องสาวพ่อ)
อี่เหนี่ยน หมายถึง น้า (น้องสาวแม่)
เด หมายถึง อา (น้องชายพ่อ)
กู่เด หมายถึง น้า (น้องชายแม่)
------------------------------------------------------------------
การเรียกลำดับพี่น้องทั้งฝั่งพ่อ/แม่ (คนจีนจะใช้เรียกตามลำดับเกิดก่อนหลัง และลำดับศักดิ์)
คนโต (คนที่1) เรียก ตั่ว
คนที่ 2 เรียก หยี่
คนที่ 3 เรียก ซา
คนที่ 4 เรียก สี่/ซี้
คนที่ 5 เรียก โหงว
คนที่ 6 เรียก ลัก
คนที่ 7 เรียก ชิก
คนที่ 8 เรียก โป่ย
คนที่ 9 เรียก เก๋า
คนสุดท้าย/คนเล็ก เรียก โซ่ย หรือ โซ้ย
ตัวอย่าง เช่น
ลุงคนกลางเรียก เรียกว่า หยี่แปะ
น้าชายคนสุดท้อง เรียกว่า โซ่ยกู๋
อาเขยคนโต เรียกว่า ตั่วเตี๋ย
น้าคนที่สองฝั่งแม่ เรียกว่า หยี่อี๊
ป้าสะใภ้คนที่สามฝั่งพ่อ เรียกว่า ซาอึ้ม
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า เหล่า/เล่า สำหรับใช้เรียกคนที่อยู่ในรุ่นที่สูงขึ้นไปกว่า อากงและอาม่า เช่น เหล่าแปะ เหล่าโกว เหล่าเจ็ก เหล่าซิ่ม เหล่ากู๋ เหล่ากิ๋ม เหล่าอี้ เป็นต้น
คำที่น่าสนใจ
大孫當尾仔 "ตั๋วซุง ตึ๊ง บ๋วยเกี้ยะ" แปลว่า หลานชายคนโตเปรียบเสมือนลูกชายคนเล็ก
ตั่วซุง คือ ลูกชายของลูกชายคนโต หรือหลานชายคนโต (ลูกของลูกชายคนไหนก็ได้ที่เกิดคนแรก) และต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นผู้สืบสกุล เปรียบเสมือนเป็นลูกชายคนเล็กของตระกูล
คนจีนให้ความสำคัญหลานชายคนโต ถ้าแบ่งสมบัติหลานชายคนโตได้ 1 สิทธ์เวลาจัดงานศพ อากง อาม่า หลานชายคนโตต้องใส่ชุดกระสอบ (เหมือนลูกชาย)
ตั่วซุง ที่จะทำหน้าที่ ถือกระถางธูปได้ ต้องเข้าหลักเกณท์ 2 อย่าง
1.เป็น หลานชายคนแรก ที่เกิดจาก ลูกชายคนแรก ของ อากง
2.คนเป็นพ่อ เสียแล้ว หลานคนโตถึง จะทำหน้าที่แทนพ่อ คือ ถือกระถางธูป ซึ่งเป็นหน้าที่ของลูกชายคนโต
ขอบคุณที่มา ก้าวใหม่สะใภ้ไชนีส เรื่องเล่าจากหมวยเยาวราช
พีพีทีวี เรียบเรียง
กางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีแก้ 112 “พิธา-ก้าวไกล”