ความเชื่อเช็งเม้ง 2567 โลกหลังความตาย ไทย-จีน แตกต่างกันอย่างไร

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ไขความลับ เช็งเม้ง 2567 ความเชื่อ ความศรัทธาคนไทย-คนจีน แตกต่างกันอย่างไร พีพีทีวีมีคำตอบ

ความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายและสิ่งเร้นลับ ถือเป็นความเชื่อที่มีความเฉพาะเจาะจงตามแต่วัฒนธรรม แน่นอนว่า “เช็งเม้ง” หรือ เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ ก็ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อเหล่านั้น เพียงแต่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะ และมีมนต์ขลังสำหรับชาวจีน หรือ คนไทยเชื้อสายจีน ถึงอย่างนั้น ประเด็นเรื่องโลกหลังความตายก็ยังเป็นปริศนาสำหรับใครหลายๆ คน พีพีทีวีชวนมาไขความลับ โลกหลังความตาย คนไทยและคนจีนต่างกันอย่างไร ? 

คอนเทนต์แนะนำ
“การเลือกทำเลฮวงซุ้ย” บ้านหลังสุดท้ายคนของคนตาย สู่ความเจริญแก่ลูกหลาน
เช็กความหมาย “ของไหว้วันเช็งเม้ง” สื่อถึงสิริมงคล ไหว้แล้วบรรพบุรุษใจฟู

เช็งเม้ง 2567 ช่างภาพพีพีทีวี
เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ เป็นวัฒนธรรมเฉพาะและมีมนต์ขลังสำหรับชาวจีน

ความเชื่อ "โลกหลังความตาย" ไทยจีนต่างกันอย่างไร ? 

  • ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม 
  • ความเชื่อกับการเกิดใหม่ในโลกหน้า 
  • การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
  • ความเชื่อในโลกหลังความตาย (ชีวิตในปรโลก)

ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม 

คนไทยเชื้อสายพุทธ คือการทำความดี หรือกรรมดี เพื่อให้ดวงวิญญาณหลุดพ้นและไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อละทางโลกไปแล้ว โดยแบ่งเป็น ใครที่ทำดีจะถูกส่งไปบนสวรรค์ ขณะที่ใครทำไม่ดี จะถูกส่งไปในนรก ซึ่งการตัดสินทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคน 

ขณะที่คนจีน มีความเชื่อเรื่องของ “กฎแห่งกรรม” ที่เปรียบเหมือนการข้ามสะพาน “โอฆสงสาร” ว่าผู้ที่มีบุญมากจะเห็นสะพานนี้เป็นสะพานเงินสะพานทอง คอยรองรับดวงวิญญาณ แต่หากทำความชั่ว ผลกรรมจากการะทำจะถ่วงน้ำหนักให้ดวงวิญญาณว่ายน้ำข้ามไปอย่างยากลำบาก 

และแม้ว่าเรื่องราวของกฎแห่งกรรมจะมีวิธีการทางความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ คนไทย และคนจีน มีความเชื่อเหมือนกัน คือการสร้างการกระทำที่ดีในช่วงที่มีชีวิตอยู่เพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตัวเองในโลกหลังความตาย
 

ความเชื่อกับการเกิดใหม่ในโลกหน้า 

ไม่ว่าจะอยูในวัฒนธรรมไหน หนึ่งในความเชื่อที่เป็นอมตะและไม่เคยเปลี่ยนคือ การเกิดใหม่ในโลกหน้า หรือที่มักจะรู้จักในชื่อว่า “สุคติภูมิ หรือ ภพภูมิที่ดี” ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเป็น มนุษย์ที่สุขสบาย หรือ การไปจุติเป็นเทวดา 

ในคนไทยนั้นมีความเชื่อว่า หากตอนที่มีชีวิตอยู่ดำเนินชีวิต เป็นบุคคลที่กระทำกรรมดี หรือเป็นคนที่อยู่ในศีลธรรม ชาติหน้าจะมีชีวิตที่ดี ขณะที่คนจีนจะมีความละเอียดในพิธีกรรมของโลกหลังความตายมากกว่าการเกิดใหม่ในชาติหน้า 
 

การแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

แม้ว่าในในหลักศาสนาของคนไทย และคนจีนจะไม่ต่างกันมากหนัก แต่เรื่องของเทศกาลและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับนั้น มางฝั่งของคนจีนจะมีวัฒนธรรมที่เข้มข้นกว่ามาก ในคนจีนจะมีคำพังเพยว่า “หนึ่งปีมีแปดเทศกาล หนึ่งชีวิตห้าพิธีกรรม” และจาก 8 เทศกาลที่กล่าวมานั้น 5 เทศกาล ตรุษจีน , เช็งเม้ง , สารทจีน , กินเจ , หยวนเชียว ที่ล้วนแล้วแต่ละลึกถึงผู้วายชนที่ล่วงลับไปแล้วทั้งสิ้น

ขณะที่คนไทยเลือกทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้กับครอบครัวที่ล่วงลับตามแต่โอกาสที่ได้ทำบุญในวันพระใหญ่ หรือแล้วแต่ความสะดวกในการเข้าวัดทำบุญเป็นหลัก
 

ความเชื่อในโลกหลังความตาย (ชีวิตในปรโลก)

ปรโลก หมายถึง โลกหน้า หรือ โลกใหม่ หรือโลกที่เราต้องไปเยือนในชีวิตหลังความตาย ซึ่งถูกแบ่งจากการกระทำเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์โลก  

นไทยเชื่อว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งหลายไม่ใช่การตายเกิดเพียงชาติเดียว และกิเลสในตัวของมนุษย์ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากละกิเลสได้ จะไม่มีการเกิดอีกครั้ง และเรียกสิ่งนั้นว่า “นิพพาน” 

คนจีนมีความเชื่อเรื่อง โลกหลังความตาย ว่าเมื่อตายไปแล้วยังมีอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า “อิมกัง” เพื่อให้การอยู่บนโลกอีกภพหนึ่งสะดวกสบายที่สุด ลูกหลานจึงต้องส่งเงินทอง และคนรับใช้ไปคอยปรนนิบัติ และเรารู้จักกันดีในพิธี “เผากระดาษ” นอกจากนั้น การเผากระดาษยังแสดงถึงความกตัญญู และเป็นความสิริมงคลแก่ลูกหลานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อในเรื่องลี้ลับนี้เป็นความเชื่อที่เกิดจากวัฒนธรรม เป็นความผสมผสานวัฒนธรรมความเชื่อของชาวจีนและชาวไทยที่มีมาอย่างยาวนาน และได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น ในพิธีที่มีเรื่องราวของโลกหลังความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นหนึ่งในไม่กี่วัฒนธรรมที่ทำให้คนรุ่นหลังระลึกและคิดถึงใครบางคนที่เคยอยู่ และได้ห่างออกไปเพื่อท่องโลกใบใหม่เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายที่ทำให้ คนในครอบครัวได้กลับมารวมตัวกันเพื่อระลึกถึงบุคคลอันเป็นที่รักที่ได้จากไป 

ราคาทองวันนี้ (25 มี.ค.2567) เปิดตลาด "ขึ้น 50 บาท" จากสุดสัปดาห์

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567

เช็กเงื่อนไข เปลี่ยนแบตเตอรี่ iPhone-iPad หากแบตเสื่อม

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ