ปวดท้องโรคกระเพาะนานแค่ไหน ต้องส่องกล้องตรวจมะเร็งกระเพาะอาหาร?
รู้หรือไม่ ? โรคกระเพาะมีทั้งแบบที่มีแผลและไม่มีแผล อาการบางรายรุนแรงแต่อาการหนักขนาดไหน?แพทย์ถึงต้องรีบส่องกล้องดูกระเพาะอาหารหวั่น เนื้องอกหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร?
โรคกระเพาะอาหารทั้งชนิดที่เป็นแผลและไม่เป็นแผล อาการจะคล้ายคลึงกัน คือมีอาการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย บางรายปวดแน่นถึงหน้าอก อาการมักเป็นๆหายๆ และสัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจปวดก่อนอาหารเวลาหิว ปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม ซึ่งแค่โรคกระเพาะนี้แหละค่ะ ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งหากถึงขั้นนั้น แนะนำว่าควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
อาการปวดท้องที่ควรพบแพทย์ทันที
- ถ่ายดำหรือถ่ายมีเลือดปน
- น้ำหนักลด
สัญญาณโรคกระเพาะอักเสบ เป็นหนักขณะไหนเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร?
แผลในกระเพาะอาหาร อาการเตือนต้องรีบรักษา ก่อนเจอภาวะแทรกซ้อนอันตราย!
- ตัวซีด เหลือง (ดีซ่าน)
- ปวดรุนแรงนานเป็นชั่วโมง
- มีอาเจียนรุนแรงติดต่อกัน หรืออาเจียนมีเลือดปน
- เจ็บหรือกลืนลำบาก
- มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร
- คลำก้อนในท้องได้ หรือต่อมน้ำเหลืองโต
ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจเป็นแผลหรือมีเลือดออก หรืออาจเป็นเนื้องอก มะเร็งกระเพาะอาหารได้
แนวทางการรักษาโรคกระเพาะ
ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดจุกแน่นท้อง จุกเสียด ลมเรอ แสบท้อง มานานไม่เกิน 2 สัปดาห์ และไม่มีอาการเตือนที่สำคัญ มีแนวทางรักษา ดังนี้
- รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- งดบุหรี่ งดเหล้า งดอาหารรสเผ็ด รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- ออกกำลังกาย
- งดกินยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกโดยไม่จำเป็น
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังปฎิบัติตามข้างต้น หรือ อาการเป็นมานานกว่า 1 เดือน หรือมีอาการเตือนที่สำคัญตั้งแต่ต้น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม คือ “การส่องกล้องกระเพาะอาหาร”
อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด กินยาโรคกระเพาะไม่ดีขึ้น เช็กก่อนอาจรุนแรงกว่าที่คิด!
ถ้าไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร
- ให้ปฎิบัติตามดังกล่าวข้างต้น อาจต้องรับประทานยานาน 4 สัปดาห์
ถ้ามีแผลในกระเพาะอาหาร
- ต้องตัดชิ้นเนื้อจากแผล เพื่อตรวจหาว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
- ต้องตัดชิ้นเนื้อจากส่วนล่างของกระเพาะอาหารเพื่อดูว่ามีเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือไม่ ถ้ามีเชื้อโรคดังกล่าวร่วมกับมีแผล ต้องให้ยากำจัดเชื้อโรค 2 สัปดาห์ และให้ยารักษาแผลอีก 4-6 สัปดาห์
การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร นอกจากดูว่ามีแผล เนื้องอก และมะเร็งหรือไม่ ยังสามารถฉีดยาหรือห้ามเลือดด้วยวิธีต่างๆผ่านการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากกระเพาะอาหาร และสามารถติดตามดูการหายของแผลได้
การป้องกันโรคกระเพาะอาหาร
- รักษาสุขอนามัย รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหารและมะเร็งบางชนิดของกระเพาะอาหาร
- งดกินยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก โดยไม่จำเป็น
- งดบุหรี่ งดเหล้า งดเผ็ด รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ออกกำลังกายคลายเครียด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
โรคกระเพาะหายขาดได้หรือไม่ ? เทคนิคป้องกันไม่ให้ป่วยแถมลดความเครียดได้!
“กล้วยหอม”ผลไม้เติมความสดชื่น ป้องกันท้องผูก แต่กินเกินอาจแคลอรีพุ่ง!