เทคนิคฝังเข็ม "Dry Needling" ศาสตร์คลายจุดปวด ให้ไลฟ์สไตล์สมดุลชีวิต
เปิดมุมมองไลฟ์สไตล์ ของ คุณณฐกร แจ้งเร็ว “ตั้ม สาระตั้ม” นักธุรกิจหมื่นล้านแห่งนิชดาธานี กรุ๊ป ยูทูปเบอร์กูกรูด้านการตกปลา และบาร์เทนเดอร์ดีกรีระดับประเทศ ล้วงความลับ สุขภาพ เทคนิค Dry Needling กับพญ.ปวีณา วิมลวัตรเวที แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
ใช้ชีวิตหนักทั้ง ทำงานหลายอย่าง งานอดิเรกที่ลุยไปข้างหน้า และการเล่นกีฬาเพื่อรักษาสมดุลในชีวิต ก็ต้องมีเจ็บกล้ามเนื้อตรงโน้น ปวดตรงนี้เป็นบ้างธรรมดา รู้จักกายภาพ Dry Needling กับ ไลฟ์สไตล์ของ คุณณฐกร แจ้งเร็ว “ตั้ม สาระตั้ม” นักธุรกิจหมื่นล้านแห่งนิชดาธานี กรุ๊ป ยูทูปเบอร์กูกรูด้านการตกปลา และบาร์เทนเดอร์ดีกรีระดับประเทศ ที่เรียกได้ว่า เก่งรอบด้านและไม่หยุดที่จะเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ ตั้งคีย์เวิร์ดของสุขภาพตัวเองว่า “สมดุลกับสายป่าน”
เจ็บเวลายืน เดินนานๆ! สัญญาณ “ภาวะเท้าแบน” ภัยเงียบในเด็กที่ไม่ควรละเลย
สายบ้าพลังควรรู้! วิธีออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงภาวะขาดน้ำ
คุณตั้มได้ตั้งมายเซ็ท (ชุดความคิดของตนเอง) ว่าการออกกำลังกาย ทำให้มีแรงในการใช้ชีวิต โดยอธิบายอีกว่า ‘สมดุล’ คือเท่าที่ร่างกายไหวเท่าไหร่ ที่จะชี้ชัดได้มากขึ้นจากการศึกษาตำรา เช่นเดียวกับ ‘สังเกตการณ์’ ที่มาจากการค้นคว้าและสังเกตเพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น และแน่นอนว่า ตนเองมีตัวช่วยในการดูแลตัวเอง ด้วยการกายภาพบำบัดวิธี Dry Needling เพื่อให้ไลฟ์สไตล์ ของตนเองไม่หยุดชะงัก
พญ.ปวีณา วิมลวัตรเวที แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน อธิบายถึง การ การคลายจุดเจ็บในกล้ามเนื้อด้วยเข็ม Dry Needling ว่า หลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ทั้งการเล่นกีฬาหนัก การทำงานเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาคอ บ่า ไหล่ หรือที่เราเรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งอาจจะทำให้เปิดจุดปวดกล้ามเนื้อสะสม ใยกล้ามเนื้อหดเกร็ง จนกลายเป็นปมเล็ก ๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า Trigger Point (TrPs) และมีหลากหลาย อาทิ ได้แก่ วิธีทางทำกายภาพบำบัด ใช้ความร้อนลึก เช่น อัลตราซาวนด์ ยืดกล้ามเนื้อ และนวดบำบัด ซึ่งการใช้เข็ม Dry Needling ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน
ใช้เข็มรักษาปวดกล้ามเนื้อนั้นมี 2 แบบคือ
- การคลายจุดเจ็บในกล้ามเนื้อด้วยเข็มเปล่า เรียกว่า Dry Needling หรือ การแทงเข็มเปล่า (แห้ง) เป็นการรักษาโรคปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งค้างที่เรียกว่า Myofascial Trigger Point โดยใช้เข็มสะกิดให้เกิดการคลายตัวของ Trigger Point อาการปวดก็จะหายไปได้
- คลายจุดเจ็บในกล้ามเนื้อด้วยการฉีดยาชา เรียกว่า Trigger Point Injection with Lidocaine เป็นการฉีดยาชาเข้าไปใน Trigger Point และใช้เข็มฉีดยาสะกิดให้เกิดการคลายตัวของ Trigger Point อาการปวดก็จะหายไป
ซึ่งต่างจากการฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีน (Acupuncture) ที่แผนจีนจะเน้นการปรับสมดุลร่างกายกระตุ้นให้ลมปราณไหลเวียน ให้ร่างกายรักษาตนเอง แต่ Dry Needling คือการฝังตรงจุดที่มีอาการปวดเพื่อใช้เข็มเพื่อสะกิดให้เกิดการคลายตัวของ Trigger Point
Dry Needling เจ็บจนไม่กล้าทำ ?
พญ.ปวีณา ระบุว่า อาการปวดของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่เป็นความปวดในระดับที่ทนได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและขออย่ากังวลว่าจะเกิดอันตรายเพราะอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ที่สามารถปรับระดับความเจ็บได้ อย่างไรก็ตามไม่ควรทำถี่เกินไป ขอแนะนำให้เว้นระยะห่าง 3 วันเพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีการฟื้นฟู
เปิดเทคนิคกดจุดง่ายๆ บรรเทาอาการ “จาม-ไอ-คัดจมูก” จากภูมิแพ้
เตรียมตัวก่อนทำ Dry Needling
พญ.ปวีณา ระบุว่า มีข้อห้ามเพียงอย่างเดียวคือคนที่มีภาวะเลือดหยุดยาก ซึ่งหายห่วงสำหรับบุคคลที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือ บุคคลที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดที่มีค่าเลือดปกติ สามารถรับบริการได้ตามปกติ
- ไม่ต้องอดอาหาร และควรกินก่อนมาฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าท้องว่างมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย
- ควรสวมเสื้อผ้าแบบสบาย ๆ กางเกงหลวม
- ขณะรับการฝังเข็ม ถ้าอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
เคล็ดลับแบ่งเวลาฉบับ “นักเขียนเสื้อกาวน์” ทำงานหนักยังไงให้สุขภาพดี มีสมดุลชีวิต