ยานโรเวอร์ เพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) ขององค์การนาซา ได้สกัดออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเป็นระยะๆ ในช่วงเวลากว่า 2 ปี นับตั้งแต่ลงจอดบนดาวอังคารเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2021
อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า ม็อกซี (MOXIE) บนยานเพอร์เซียเวแรนซ์ ซึ่งมีขนาดพอๆ กับเครื่องไมโครเวฟ ได้ผลิตออกซิเจน 16 ครั้ง รวมปริมาณทั้งหมด 122 กรัม ซึ่งเพียงพอสำหรับนักบินอวกาศใช้หายได้ 3 ชั่วโมง หรือหากเป็นน้องหมาก็สามารถใช้หายใจได้ถึง 10 ชั่วโมง
นาซาเปิดตัว 4 อาสาสมัครทดลองใช้ชีวิตใน "ดาวอังคารจำลอง" 1 ปี
หลักฐานเคยมีแหล่งน้ำ ยานสำรวจนาซา พบ “โอปอล” บนดาวอังคาร
จะไปให้ถึงดาวอังคาร! นาซาเตรียมทดสอบ “จรวดพลังนิวเคลียร์”
โดยม็อกซีสามารถสกัดออกซิเจนได้มากที่สุด 12 กรัม ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2 เท่า และเป็นออกซิเจนมีความบริสุทธิ์อย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์
“ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจของม็อกซีแสดงให้เห็นว่า การสกัดออกซิเจนจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารให้เป็นอากาศที่นักบินอวกาศหายใจได้ หรือเป็นเชื้อเพลิงขับดันจรวด เป็นสิ่งที่เป็นไปได้”
“การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เราใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์และดาวอังคารได้นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตั้งรกรากบนดวงจันทร์ในระยะยาว การสร้างระบบเศรษฐกิจบนดวงจันทร์ รวมถึงช่วยสนับสนุนโครงการส่งมนุษย์ไปสำรวจดาวอังคารในช่วงแรก”
ทั้งนี้ ยานเพอร์เซเวียแรนซ์กำลังปฏิบัติภารกิจรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาของดาวอังคาร และสภาพอากาศในอดีต โดยมีเป้าหมายหลักคือ การเก็บตัวอย่างหินกลับมายังโลก เพื่อค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตอย่างจุลินทรีย์ที่เคยอยู่บนดาวอังคารเมื่อราว 3,000 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารมีสภาพอุ่นกว่า ชื้นมากกว่า และเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากกว่านี้
ภาพจาก AFP
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้
ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024