ล้างทฤษฎี! หินใจกลาง “สโตนเฮนจ์” มาจากสกอตแลนด์ที่อยู่ห่างไป 700 กม.

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ผลวิจัยใหม่ยืนยันว่า แท่นหินใจกลางสโตนเฮนจ์ หนึ่งในโบราณสถานลึกลับของโลก ถูกขนมาจากสกอตแลนด์เป็นระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

หนึ่งในปริศนาของโลกที่ยังไม่มีใครไขได้ คือต้นกำเนิดของหมู่หินลึกลับ “สโตนเฮนจ์” (Stonehange) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในสหราชอาณาจักร รวมถึงไม่มีใครรู้ด้วยว่า มันมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

เป็นเวลานับร้อยปีแล้วที่นักโบราณคดีเชื่อว่า หินบางก้อนที่ใช้ประกอบสร้างสโตนเฮนจ์เป็นหินที่มาจากเวลส์ (Wales) และถูกเคลื่อนย้ายมายังที่ราบซอลส์บรี คิดเป็นระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร

คอนเทนต์แนะนำ
“เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพ “Messier 106” กาแล็กซีก้นหอยอยู่ใกล้โลกที่สุด
พบแล้ว! น้ำบาดาลใต้พื้นผิวดาวอังคาร ครั้งแรกที่พบน้ำในรูปแบบของเหลว
พบโมเลกุลน้ำรูปแบบที่ไม่เคยพบ ใน “ดินดวงจันทร์” จากยานฉางเอ๋อ-5

นักวิจัยพบ หินใจกลางสโตนเฮนจ์มาจากสกอตแลนด์ที่อยู่ห่างไป 700 กม. AFP/LEON NEAL
สโตนเฮนจ์ หนึ่งในโบราณสถานลึกลับของโลก

แต่ล่าสุด การศึกษาวิจัยที่น่าตกตะลึงได้เปิดเผยว่า หินขนาดใหญ่ก้อนหนึ่งที่อยู่ใจกลางสโตนเฮนจ์ไม่ใช่หินจากเวลส์เลย แต่เป็นหินจากสกอตแลนด์ที่อยู่ห่างออกไปกว่า 700 กิโลเมตรต่างหาก!

เปิดขั้นตอน! เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขานชื่อเปิดเผย-ไม่มี สว.ร่วมด้วย

เปิดประวัติ “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ว่าที่นายกฯ คนที่ 31 ของไทย

อนามัยโลกประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก

ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สโตนเฮนจ์ประกอบไปด้วยหิน 3 กลุ่ม คือหินซาร์เซน (Sarsen Stone) ซึ่งเป็นหินขนาดใหญ่ที่ตั้งเรียงรายเป็นส่วนวงของสโตนเฮนจ์ รวมถึงตั้งอยู่บางส่วนตรงกลาง กลุ่มที่ 2 คือ บลูสโตน (Bluestone) เป็นหินก้อนเล็กลงมาที่กระจายอยู่ท่ามกลางวงล้อมของหินซาร์เซน

และกลุ่มสุดท้ายซึ่งมีอยู่เพียงก้อนเดียว คือหินใจกลางสโตนเฮนจ์ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “หินแท่นบูชา” (Altar Stone) เป็นหินทรายขนาดใหญ่ยาว 5 เมตรและหนัก 6 ตันซึ่งปรากฏให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะถูกหินซาร์เซน 2 ก้อนทับไว้

หินแท่นบูชาใจกลางสโตนเฮนจ์มาจากสกอตแลนด์ที่อยู่ห่างไป 700 กม. AFP/Professor Nick Pearce/Aberystwyth University
หินแท่นบูชาตั้งอยู่ใจกลางสโตนเฮนจ์ แต่ปรากฏให้เห็นเพียงบางส่วนเพราะถูกหินซาร์เซน 2 ก้อนทับไว้

ก่อนหน้านี้มีการค้นพบไปแล้วว่า จากหินซาร์เซนทั้งหมด 52 ก้อนที่ใช้ในการสร้างสโตนเฮนจ์ มี 50 ก้อนถูกเคลื่อนย้ายมาจากเวสต์วูดส์ในวิลต์ไชร์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 20 กิโลเมตร ส่วนหินบลูสโตนมาจากเทือกเขาพรีเซลีในเพมโบรคเชียร์ของเวลส์

และล่าสุดคือหินแท่นบูชาที่เชื่อว่าถูกเคลื่อนย้ายโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากจุดที่ปัจจุบันเป็นเมืองอินเวอร์เนส หรืออาจมาไกลจากหมู่เกาะออร์กนีย์ก็เป็นไปได้

หินแท่นบูชานี้ทำจากหินตะกอนที่เรียกว่าหินทรายสีแดงเก่า จัดอยู่ในประเภทหินที่ไม่ใช่หินในท้องถิ่น และเชื่อกันมานานว่าถูกนำมาจากที่ไหนสักแห่งในเวลส์ เช่นเดียวกับหินบลูสโตนอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม หินแท่นบูชานี้ถือเป็นหินนอกกลุ่ม และการวิจัยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้บรรดานักโบราณคดี ตั้งคำถามว่าหินชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากเวลส์หรือไม่

ร็อบ อิกเซอร์ นักวิจัยอาวุโสกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่อยู่เบื้องหลังการศึกษาใหม่นี้ กล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ความคิดของเราเกี่ยวกับสโตนเฮนจ์เท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงความคิดของเราเกี่ยวกับยุคหินใหม่ตอนปลายทั้งหมดด้วย”

เขาเสริมว่า “มันเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประชากรในยุคหินใหม่ทั้งหมดในหมู่เกาะอังกฤษใหม่ทั้งหมดขึ้นใหม่หมด ... วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สวยงามและน่าทึ่ง และจะถูกนำมาถกเถียงกันอีกหลายทศวรรษข้างหน้า ... มันน่าทึ่งมาก”

การศึกษาใหม่นี้เกิดจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเคอร์ตินในเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัยแอดิเลด, มหาวิทยาลัยอาเบอริสต์วิธ และมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของหินและอายุของแร่ธาตุภายในหินสโตนเฮนจ์

เมื่อนำข้อมูลมารวมกันแล้ว พวกเขาพบว่า หินทรายมีลักษณะเฉพาะที่คล้ายกับ “ลายนิ้วมือ” ของคน แต่สามารถบอกอายุได้ด้วย ซึ่งด้วยลายนิ้วมืออายุนี้ ทำให้สามารถจับคู่กับหินประเภทเดียวกันทั่วสหราชอาณาจักรได้ และจากการจับคู่ลายนิ้วมืออายุของหินแท่นบูชา ปรากฏว่ามันไปตรงกับหินในแอ่งออร์คาเดียน (Orcadian Basin) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์

แม้ว่าการระบุตำแหน่งที่แน่นอนจะต้องใช้ความพยายามเพิ่มเติม แต่ผู้เชี่ยวชาญได้จำกัดขอบเขตของแหล่งที่มาที่เป็นไปได้ให้ครอบคลุมถึงหมู่เกาะออร์กนีย์ หรือพื้นที่สามเหลี่ยมรอบเกาะจอห์นโอโกรตส์ในปัจจุบันในเคธเนส และแนวชายฝั่งแคบ ๆ ที่ทอดยาวไปทางใต้จนถึงโมเรย์เฟิร์ธรอบเมืองอินเวอร์เนส และทางตะวันออกไปจนถึงเอลกินในปัจจุบัน

นิก เพียร์ซ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอาเบอริสต์วิธ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า การค้นพบนี้ “เป็นวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่สิ่งที่คนจะมองแล้วบอกว่า ‘โอ้ ไม่ ไม่น่าจะเป็นไปได้’”

เขาเสริมว่า โอกาสที่หินจะมาจากที่อื่นนั้นมีเพียง “เศษเสี้ยวของเปอร์เซ็นต์” เท่านั้น

สำหรับหลาย ๆ คน คำถามที่ใหญ่ที่สุดคงเป็นคำถามที่ยังไม่ได้มีการสำรวจอย่างละเอียดในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ ผู้สร้างสโตนเฮนจ์ขนหินยักษ์จากสกอตแลนด์มายังที่ราบซอลส์บรีได้อย่างไร?

นี่คือปริศนาที่ยังคงต้องเดินหน้าศึกษาหาคำตอบกันต่อไป

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก The Guardian

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ