นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวพีพีทีวี ถึงกรณีการปฎิรูป องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ระบุว่า ปัญหาของการทำแผนฟื้นฟูมีมาหลายสิบปีแล้ว และทาง ขสมก.ประเมินต้นทุนของตนเองซึ่งสูงกว่าต้นทุนเฉลี่ยมาตรฐานถึง 20% ทั้งต้นทุนด้านค่าแรง ค่ารถ ด้านกรมการขนส่งทางบก จึงจำเป็นต้องกำหนดราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เหมาะสม ไม่ใช่ต้นทุนของรายใดรายหนึ่ง เพราะหากกำหนดราคาค่าโดยสารตามต้นทุนของ ขสมก. จะทำให้ค่าโดยสารแพงขึ้นอีกราว 20-30%
รถร่วมฯ ขสมก. บุกคมนาคมวันนี้ ทวงคำตอบขึ้นค่าโดยสาร
เมื่อต้นทุน ขสมก.อยู่ในระดับสูงจึงต้องมีแผนฟื้นฟูเพื่อลดต้นทุนของตนเอง โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่พยายามใช้เทคโนโลยี e-Ticket เข้ามาทดแทนพนักงานเก็บเงิน และเปิดเกษียณอายุโดยสมัครใจ รวมไปถึงการลดต้นทุนของพนักงานขับรถ ด้วยการไม่รับคนใหม่เข้ามาเพิ่มในระบบที่รายได้สูงเหมือนเดิม ไม่ใช่การปลดคน เพียงเปลี่ยนเป็นรูปแบบสัญญาจ้างอื่นๆแทน เนื่องจากหากยังเดินหน้าองค์กรไปรูปแบบเดิม อาจจะอยู่ไม่ได้
สำหรับรูปแบบการเช่ารถ จะเป็นการควบคุมได้ดีกว่า เพราะผู้ที่มาให้เช่ารถจะเป็นผู้รับความเสี่ยงการสึกหรอของรถไปทันที ตัว ขสมก. ไม่ต้องรับภาระ หากมีรถวิ่งสภาพดีได้มาตรฐาน เอกชนรับเงิน แต่หากไม่มีรถวิ่ง รถไม่ได้มาตรฐาน ก็คิดค่าปรับการผิดสัญญา ซึ่งปัจจุบันรูปแบบนี้ก็ถูกใช้ดำเนินการในหลายธุรกิจอยู่แล้ว
ส่วนการจัดทำค่าโดยสารรูปแบบจ่ายครั้งเดียวขึ้นได้ตลอดวัน กี่ครั้ง กี่ต่อก็ได้นั้น นายสุเมธ เน้นย้ำว่า ปัจจุบันสามารถเป็นไปได้แล้ว ด้วยระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกซ์ รูดขึ้นรถแล้วสามารถต่อสายรถได้ทันที หากทำได้แล้วการบริหารจัดการเส้นทางของ ขสมก. จะดีขึ้น เนื่องจากเดิมทีมีข้อจำกัดเรื่องสายรถเมล์ที่ยาว เพราะต้องลงแล้วไปต่อสายรถ เสียเงินใหม่ทุกครั้งที่ขึ้น
ฉะนั้นเมื่อระบบลงตัว เส้นทางรถโดยจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ในทางปฎิบัติอาจไม่ง่ายนัก แต่ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ ขสมก.มีแนวคิด มีกลไกในการทำงาน ดีกว่าเดินไปรูปแบบเดิมที่มีแต่แย่ลงๆ ด้วยกันขาดทุนปีละ 5-6 พันล้านบาท ทั้งนี้ ปัญหาของ ขสมก.คือการสื่อสารกับทางสหภาพแรงงาน อย่างไรให้มีความเข้าใจกันได้
คมนาคม สั่ง ขสมก.ลดค่ารถเมล์-รื้อแผนฟื้นฟู ย้ำต้องเลี้ยงตัวเองได้
ม.หอการค้า ชี้ปรับขึ้นค่ารถเมล์ช่วงนี้ สร้างภาระประชาชน เหตุเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว