ตอนนี้เด็กๆ อายุเท่าไรกันแล้ว?
“น้องแพรวคนโต 11 น้องภูมิคนเล็ก 8 ค่ะ”
ทั้งสองนิสัยเหมือนหรือต่างกันมากน้อยแค่ไหน
“น้องแพรวคนโต จะเป็นเด็กไทยที่ยอมให้ดุได้ เป็นคนเก็บ เราพูดอะไรต้องคิด เพราะอะไรๆ ลูกก็ โอเคๆ เราต้องระวังคำพูด และแพรวชอบทำอาหาร ชอบเย็บปักถักร้อย ชอบงานฝีมือ ส่วนน้องภูมิคนเล็ก เป็นเด็กไทยแบบที่พูดอะไรไปก็จะสวนกลับ ไม่เก็บกด ”
ตุ๊ก ชนกวนันท์ เซอร์ไพรส์วันเกิดลูกสาว
“จริงหลายคนมองว่าเป็นการเลี้ยงแบบแปลกๆแต่ ตุ๊กรู้สึกว่าก็เลี้ยงในแบบที่ตอนเราเป็นเด็ก เราไม่มีมือถือ หรือ ทีวี เรายังโตมาได้เลย แล้วตุ๊กเชื่อว่าเด็กทุกวันนี้เค้าเรียนรู้อะไรได้เร็วจับมือถือไม่นานเดี๋ยวเค้าเล่นได้แล้วโดยที่ไม่ต้องสอน แต่ตุ๊กจะสอนให้เค้าอยู่กับธรรมชาติมากกว่า”
มีร้องขอดูบ้างไหม?
"ด้วยวิถีโดยรวม เราทำให้เป็นเรื่องปกติตั้งแต่แรก เกิดมาก็เป็นแบบนี้ใม่ได้ดู ไม่เคยดู ลูกก็เข้าใจ ไปร้านอาหารเปิดลูกก็ไม่ตกใจ"
แล้วเวลาว่างๆหรือตอนเด็กๆไปรอแม่ที่กองถ่าย ลูกๆเล่นอะไร
“อ่านหนังสือค่ะ คือด้วยความที่เราชอบอ่านหนังสือ พอวันว่างเค้าก็จะเห็นเรานั่งอ่านหนังสือ เราเลยรู้สึกว่าไม่มีของพวกมือถือหรือทีวีแม่ก็อยู่ได้ เค้าก็ค่อยๆซึมซับมาเรื่อยๆจนเป็นนิสัยไปเอง คือทุกวันนี้เวลาจะไปไหน เค้าจะมีหนังสือพกติดตัวไปอ่านทุกที่ เพราะเชื่อว่าการอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กที่กำลังเรียนรู้”
“ใช่ค่ะ คือน้องแพรวคนโตไม่ต้องเป็นห่วงเค้าเลยเหมือนกลับจากโรงเรียนมาเวลาเค้าอยากกินอะไรเค้าก็จะทำทานเอง และทำให้น้องทาน แต่ช่วงหลังๆถ้าว่างนางก็ทำให้แม่ทานตลอด”
“ตุ๊กจะเลือกรับงานช่วงกลางวันตอนที่ลูกไปโรงเรียนค่ะ”
ถือว่าเป็นคุณแม่ที่สตรองมาก งานก็ต้องทำ แถมยังต้องเลี้ยงลูกคนเดียว และยังสามารถเลี้ยงลูกได้ดีอีกด้วย ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่อยากนำ วิธีเลี้ยงลูกให้ห่างไกลจากสื่อหน้าจออย่างโทรทัศน์ และ แท็บเล็ต ของแม่ตุ๊กไปลองใช้ก็สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
1.เมื่อลูกร้องต้องการโทรทัศน์ หรือ แท็บเล็ต ต้องชวนทำกิจกรรมต่างๆ ที่ดึงความสนใจเด็กออกจากหน้าจอ เช่น พูดคุย วาดรูป เต้นระบำ พาลูกไปเที่ยวข้างนอก หรือชวนเล่นกีฬาง่ายๆ ซึ่งพ่อแม่ต้องมีความหนักแน่นในการปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.ใช้สื่อหน้าจอกับลูกเล็กเพียงแค่เวลาสั้นๆ เช่น ชวนดูหนังสือด้วยกัน แต่ไม่ควรทิ้งเด็กไว้ลำพัง เพราะการอ่านจากหน้าจอไม่เหมือนการอ่านหนังสือที่เป็นเล่ม ที่สามารถทิ้งเด็กไว้ลำพังได้ เมื่อไม่ได้ใช้แนะนำให้ปิดเลย แล้วให้เขาสนุนสนานกับอย่างอื่นแทน
3.บริหารเวลาในการดูแลลูก ให้ลูกรับรู้ถึงความรักความอบอุ่นเป็นสำคัญ ในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ยาก ไม่ควรให้ใช้แท็บเล็ต แต่ในเด็กโตที่รอคอยเป็น ควบคุมอารมณ์ได้ สามารถใช้แท็บเล็ตได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของพ่อแม่
4.พ่อแม่มีส่วนช่วยในการเรียนรู้ โดยพิจารณาดูว่า ลูกพร้อมและหรือยังที่จะใช้สื่อหน้าจอ ควรปลูกฝังเรื่องการเคารพเวลา, ให้มีทักษะทางสังคมพร้อม และไม่แฝงไปด้วยสิ่งที่ยั่วยุ หรือความรุนแรง
วิธีรับมือเด็กติดเกม ตามหลัก “3 ต้อง 3 ไม่” จาก กรมสุขภาพจิต
โดย พ่อแม่ที่ไม่สนใจ ปล่อยลูกไว้กับสื่อหน้าจอนานๆ แพทย์เตือน ลูกอาจเป็น “ออทิสติกเทียม” พัฒนาการช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซ้ำร้าย อาจนำไปสู่ “โรคซึมเศร้า” ได้ด้วย โดย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงเรื่องออทิสติกเทียม และแนะแนวทางการรักษาไว้ว่า “ออทิสติกเทียม” ไม่ใช่โรค แต่คือคำที่เราใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เด็กบางคนไม่ได้เป็นโรคออทิสติก แต่ว่าด้วยกลไลการเลี้ยงดูที่เป็นปัญหาจะทำให้เด็กคนนั้นถูกเข้าใจว่าเป็นโรคออทิสติก ดังนั้นจึงเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีของลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากพฤติกรรม ไม่ได้เป็นมาจากพันธุกรรมอย่างออทิสติกแท้
ลักษณะการแสดงออกของเด็กออทิสติกเทียมก็จะคล้ายๆ ออทิสติกแท้ คือ จะไม่สนใจจะมองหน้าใคร ไม่สนใจจะพูดคุยกับใคร หรืออาจจะพูดช้ากว่าวัย อาจจะไม่มีทักษะทางสังคมอย่างที่ควรจะเป็นเลย แต่ปัญหาไม่ได้เกิดจากสมองของเด็ก ไม่ได้เกิดจากตัวโรค แต่กลายเป็นเพราะการเลี้ยงดู เช่น การที่ปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจอทีวี จอแท็บเล็ต หรือจอโทรศัพท์ นานๆ ทำให้เด็กหันมาสนใจเฉพาะกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้า และเรื่องที่สามารถดึงดูดเขาได้ และเด็กเองก็ไม่สามารถถูกฝึกให้เรียนรู้ เลียนแบบ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้
ปัจจุบันเด็กยุคใหม่จะมีโอกาสเป็นออทิสติกเทียมกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่ เพราะว่าในยุคปัจจุบันเมื่อเลี้ยงลูกเองก็ปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอ เพราะรู้สึกว่า เด็กอยู่นิ่ง ควบคุมง่าย ดูแลง่าย ที่แย่ไปกว่านั้นคือ พ่อแม่ก็เป็นคนที่อยู่กับสังคมก้มหน้าเช่นกัน จึงส่งผลให้เด็กกลายเป็นออทิสติกเทียม เพราะเทคโนโลยี
ผู้ใช้โซเชียลฯ เรียกร้อง WHO ให้นิยามชัดเจน “โรคจิตเวช” เสพติดสังคมออนไลน์ (คลิป)
เทคโนโลยีไม่ใช่ผู้ร้าย ถ้ารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ ลูกปลอดภัย พ่อแม่หายห่วง “ถ้ามีพ่อแม่ช่วยในการเรียนรู้ และเอื้อประโยชน์ เด็กก็จะได้ประโยชน์จากการใช้สื่อหน้าจอในการเรียนรู้ ควรร่วมกันสร้างเทคโนโลยีนี้ให้สมบูรณ์ลงตัวเพื่อให้เด็กได้ประโยชน์อย่างมากที่สุดในการใช้สื่อหน้าจอ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าอนาคตโลกเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเท่าทัน”
ติดตามข้อมูลดีๆ จาก เมย์ เอ๋ โอ๋ Mama’s talk ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.30 น. ทาง PPTV HD ช่อง 36 ชมรายการย้อนหลัง http://pptv36.tv/uat และ ทาง LINETV
“บ๊วย” กอด “ตุ๊ก” ออกสื่อครั้งแรกในรอบหลายปี พร้อมขอบคุณเลี้ยงลูกเป็นอย่างดี
“ตุ๊ก ชนกวนันท์” พาลูกให้กำลังใจชาวมอแกน