“ดิวาลี 2567” ตรงกับวันไหน เปิดประวัติเทศกาลแห่งแสงสว่าง-บูชาพระแม่ลักษมี

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ทำความรู้จัก “ดิวาลี” (Diwali) ตรงกับวันไหน พร้อมเปิดประวัติเทศกาลอินเดียในไทยที่สำคัญนี้ ทำไมถึงเป็นฤกษ์ดีบูชาพระแม่ลักษมี

คอนเทนต์แนะนำ
ประวัติ-คาถาบูชา “พระแม่ลักษมี” เทพีแห่งความงามผู้ประทานพรด้านความรัก-โชคลาภ
วาเลนไทน์ 2567 เปิดพิกัดไหว้ขอพร "พระแม่ลักษมี" พร้อมวิธีมูยังไงให้ได้แฟน

อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวอินเดียที่สำคัญไม่แพ้กับ “นวราตรี” (Navaratri) ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน คือ “ดิวาลี” (Diwali) หรือบางคนก็เรียกว่า “ดีปาวลี” (Deepavali) ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอินเดีย และยังเป็นวันบูชาพระแม่ลักษมีด้วย

แต่ในปีนี้นั้นจะตรงกับวันไหน และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ขออาสาพาทุกคนไปรู้จักกัน

พระแม่ลักษมี เทศกาลดิวาลี 2567 ช่างภาพพีพีทีวี
พระแม่ลักษมี

ความหมายของ “ดิวาลี” หรือ “ดีปาวลี”

คำว่า “ดี” (di) หรือ “ดีป” (dee) คือ ประทีป (แสงสว่าง) ส่วนอีกคำที่นำมาผสมคือ “อวลิะ” (avalih) หมายถึง แถวหรือแนว

เมื่อผสมรวมกันในภาษาสันสกฤตจึงมีรูปเป็น “ทีปาวลิะ” ในภาษาฮินดีออกเสียง “ดีปาวลี” ซึ่งหมายถึง ประทีปที่ชาวอินเดียจุดไว้แล้ววางเป็นแถวนอกบ้านของตนเองอย่างงดงาม นั่นเอง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 3 อิทธิพลพายุ “จ่ามี” ฝนถล่มไทย 26-29 ต.ค. นี้

เช็กชื่อ 7 จำเลยคดีตากใบ! ที่ยังจับดำเนินคดีไม่ได้

ตาราง MotoGP 2024 ! โปรแกรมถ่ายทอดสด โมโตจีพี 2024 พร้อมลิงก์ดูโมโตจีพี

ที่มาของ "ดิวาลี" วันปีใหม่อินเดีย-วันบูชาพระแม่ลักษมี

อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลานทางวัฒนธรรม ฉะนั้นชาวฮินดูแต่ละถิ่นกำเนิดก็จะมีเรื่องเล่าถึงต้นกำเนิดของเทศกาลดิวาลีที่แตกต่างกัน

แต่ที่นิยมเชื่อกัน จะมาจากความเชื่อของทางอินเดียตอนเหนือ เพราะบ่อยครั้งที่ทางตอนเหนือทำอะไรมักจะมีอิทธิพลมาจากแถบอื่น ๆ ของอินเดีย ซึ่งพวกเขามองว่า เทศกาลดิวาลี เป็นการเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติของ พระรามพร้อมกับนางสีดา (Sita) พระลักษณ์ (Lakshman) และ หนุมาน (Hanuman) กลับคืนสู่เมืองอโยธยา (Ayodhya) หลังจากทรงพเนจรอยู่ 14 ปี ซึ่งเวลา 14 ปีนี้รวมถึงช่วงเวลาที่ทรงพิชิตราวณะหรือที่ไทยเรียกว่า “ทศกัณฐ์” ด้วย

เรียกว่าเป็นชัยชนะแห่งความดีงามที่อยู่เหนือความชั่วร้าย ซึ่งเปรียบเสมือนกับแสงสว่างของประทีปที่สว่างไสวเหนือความมืดมั่ว อันเป็นที่มาของชื่อเทศกาลนั่นเอง

แล้วเทศกาลนี้เกี่ยวข้องกับพระแม่ลักษมีได้อย่างไรนั้น ขอเล่าถึงอีกความเชื่อหนึ่งของชาวฮินดูกันก่อนว่า พวกเขาเชื่อว่า “พระราม” เป็นร่างอวตารของ “พระวิษณุ” และ “นางสีดา” เป็นร่างอวตารของ “พระแม่ลักษมี” พระชายาของพระวิษณุ ที่อวตารลงมาเคียงข้างพระวิษณุในทุก ๆ ภารกิจ

ประกอบกับในอินเดียมีคนจำนวนไม่น้อยมองว่า วันดิวาลีเป็นวันเกิดของพระแม่ลักษมีด้วย จึงทำให้ผู้คนนิยมบูชาพระแม่ลักษมีในวันนี้

เทศกาลดิวาลี 2567 ตรงกับวันไหน

เทศกาลดิวาลี จะกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ ทำให้ในทุก ปี วันที่จะไม่ตรงกัน และในปีนี้ตรงกับช่วง 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567

อย่างไรก็ตาม การเฉลิมฉลองจะใช้เวลาทั้งหมด 5 วัน คือ เริ่มจากวันที่ 13 ของช่วงกาลปักษ์ หรือก็คือแรม 13 ค่ำแห่งเดือนจันทรคติชื่ออาศวิน (Ashvina) ถึงวันที่สองของช่วงชุษณปักษ์ หรือขึ้น 2 ค่ำแห่งเดือนการติกะ (Karttika) 

ในวันที่ 3 ของเทศกาลดิวาลี หรือที่เรียกว่า “อะมาสวัสยะ” ถือเป็นวันสำคัญที่สุด เพราะเป็นวันที่มืดที่สุดตามปฏิทินฮินดู แต่ก็เป็นวันที่แสงสว่างเริ่มกลับมาด้วยเช่นกัน

ในเทศกาลดิวาลีนี้ ชาวฮินดูจึงมักจะออกไปจับจ่ายซื้อของ เหมือนกับช่วงตรุษจีนและคริสต์มาส รวมถึงออกมาจุดพลุหรือดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองตลอด 5 วันของเทศกาล

พระแม่ลักษมี เทศกาลดิวาลี 2567 ช่างภาพพีพีทีวี
พระแม่ลักษมี

รวมสถานที่ไหว้พระแม่ลักษมี

  • เกษร พลาซา แยกราชประสงค์ ชั้น 4 กรุงเทพมหานคร
  • ศาลพระแม่ลักษมีมหาเทวี เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
  • วัดแขกสีลม กรุงเทพมหานคร
  • โบสถ์เทพมณเฑียร ย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร
  • วัดวิษณุ ยานนาวา กรุงเทพมหานคร
  • วัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพมหานคร
  • ล้านนาเทวาลัย จังหวัดเชียงใหม่

การบูชาพระแม่ลักษมี

การบูชาพระแม่ลักษมี หากใครไม่สามารถเดินทางไปยังโบสถ์พราหมณ์ได้ สามารถบูชาพระแม่ลักษมี ได้ดังนี้

  1. อัญเชิญองค์พระแม่ลักษมีลงจากแท่นบูชา มาทำความสะอาด ปัดฝุ่น เช็ดด้วยผ้าผืนใหม่โดยใช้น้ำสะอาด
  2. ถวายเครื่องหอม แด่องค์พระแม่ : แนะนำ น้ำหอม หรือ เทียนหอม หรือหากท่านใดสะดวกสามารถถวายไฟอารตีได้ค่ะ โดยเน้นความสว่างไสวของแสงไฟ
  3. เครื่องถวาย  : แนะนำ (น้ำ) น้ำสะอาด/น้ำแดง/ น้ำนม/ น้ำมะพร้าวอ่อนและแก่, (ขนม) ขนมลาดู/ขนมโมทกะ/ ขนมเพชร/ ขนมบัฟฟี่, (ดอกไม้) ดอกบัว/ดอกกุหลาบ, (ผลไม้) แอปเปิ้ลแดง, กล้วย, แก้วมังกร
  4. ดอกไม้ถวาย : แนะนำ ดอกไม้สีเหลือง ดอกไม้สีชมพู หรือดอกบัวแดงและขาว
  5. ควรเตรียมเงินใหม่ สำหรับถวายพระแม่ และให้นำเงินนั้นเก็บใส่กระเป๋าตังค์เพื่อความสิริมงคล
  6. การแต่งกายของผู้บูชา : แนะนำ ควรแต่งกายสะอาด หรือชุดสาหรี่ โดยเน้นเป็นสีสด ไม่เน้นชุดขาว และงดสีมืดดำ

บทสวดบูชาพระแม่ลักษมี รับเทศกาลดิวาลี

ผู้บูชาสามารถสวดมนตราถวายพระแม่ลักษมีในเทศกาลดิวาลี ได้ดังนี้

วิษณุปริเย นมัสตุภยัม นมัสตุภยัม ชัคทเต

อารัตหันตริ นมัสตุภยัม สมฤทธัม กุรุ เม สทา

นโม นมัสเต มาหานมาเย ศรีปีเฐ มุรปุชิตา

ศังชะจักรัคทาทัมเน มหาลักษมี นโมรัสตะ เต

บทอธิษฐานขอพระแม่ลักษมี

บอกชื่อตนเอง ที่อยู่ เสร็จแล้วขอพร 1 ข้อต่อครั้ง จากนั้นกล่าวมนตราสั้น ๆ ดังนี้

โอม มหาวิษณปริเย นมัช

หรือ

โอม มหาลักษมี นมัช

พระแม่ลักษมี เทศกาลดิวาลี 2567 พีพีทีวี
เทศกาลดิวาลี 2567

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เฟซบุ๊ก ล้านนาเทวาลัย

ขอบคุณภาพจาก : Freepik และ PPTV

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ