TikTok กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ให้ข้อมูล-แชร์ความเห็นประเด็นรัสเซีย-ยูเครน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประชากร Gen Z ใช้ TikTok สื่อสารข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

วัยรุ่น และประชากร Gen Z ส่วนใหญ่หันมาใช้ TikTok และอินสตาแกรมเพื่อสื่อสารและแสดงความเห็นเรื่องความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งบางความเห็นก็น่าสนใจมาก เพราะพวกเขาใช้ชื่อเล่นที่ชาวเน็ตเคยตั้งให้ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ว่า “ป๊ะป๋าวลาดดี้ (Vladdy Daddy)”

นอกจากนี้ คลิปวิดีโอใน TikTok ยังกลายเป็นแหล่งข้อมูลของผู้ที่เฝ้าติดตามการเคลื่อนกองกำลังทหารของรัสเซียมากกว่า 100,000 นายใกล้กับชายแดนยูเครนอีกด้วย

ผู้นำสหรัฐฯ เชื่อรัสเซียอาจโจมตียูเครน แม้รัสเซียประกาศถอนกำลังแล้ว

“บาบุชกา” เมื่อหญิงสูงวัยลุกขึ้นจับอาวุธ ปกป้องอธิปไตยของยูเครน

สาเหตุ "รัสเซียบุกยูเครน” ไทม์ไลน์สรุปที่มาความขัดแย้ง

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียยังไปคอมเมนต์ความคิดเห็นกว่า 1,000 คอมเมนต์บนบัญชีอินสตาแกรมของประธานาธิบดีปูติน ซึ่งคาดว่าไม่ใช่บัญชีทางการ โดยบริษัทเมตา ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมเปิดเผยว่า ไม่พบว่าปูตินมีบัญชีออฟฟิเชียลในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมแต่อย่างใด

รัสเซียเริ่มถอนทหารหลังซ้อมรบ ขณะที่ปูตินหารือกับนายกฯเยอรมนี

ชื่อเล่น “ป๊ะป๋าวลาดดี้” นี้ เป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ช่วงปี 2016 จากเว็บไซต์ Know Your Meme ที่เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับ “มีม” จากทั่วโลก

สำหรับประชากรกลุ่ม Gen Z คือผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997-2012 (พ.ศ.2540-2555) หรือมีอายุระหว่าง 10-25 ปี ซึ่งหนึ่งใน Gen Z ที่ร่วมออกความเห็นในโซเชียลมีเดียช่วงที่ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนร้อนระอุ คือ ฮังกา (ไม่เปิดเผยนามสกุล) เด็กชายวัย 12 ปีจากสโลวาเกีย ซึ่งไปคอมเมนต์ว่า “ป๊ะป๋าวลาดดี้ อย่าขัดแย้งกันเลย”

อย่างไรก็ตาม มีมดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์บนทวิตเตอร์จาก เลนา (ไม่เปิดเผยนามสกุล) วัย 16 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในโปแลนด์

เลนาบอกว่า “ฉันคิดว่าคนที่อยู่ห่างไกลจากสถานการณ์ และเห็นว่าเป็นเพียงมีมหรือเรื่องตลก ไม่ควรจะล้อเล่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากนี่เป็นสถานการณ์ที่สำคัญมาก”

นีนา แจนโควิซ นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับ Center for Info Resilience ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า “TikTok เชื่อมโยงผู้ชมที่อายุน้อยเข้ากับการเมืองและสถานการณ์โลก ... ไม่มีแพลตฟอร์มอื่นใดที่ทำได้เหมือนกันแบนี้”

อย่างไรก็ตาม เธอเชื่อว่า การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นประเด็นรัสเซีย-ยูเครนทางโซเชียลมีเดียของ Gen Z ไม่น่าจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบออฟไลน์ เช่น การประท้วง

นอกจากคอมเมนต์เกี่ยวหับรัสเซีย-ยูเครนที่เป็นที่นิยมแล้ว ยังมีคอนเทนต์วิดีโอเล่าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่ได้รับความนิยมบน TikTok

ไมกา ฮินตัน นักเรียนอายุ 21 ปีจาก Fordham College ในนิวยอร์ก ได้โพสต์ข้อมูลและวิดีโอเล่าเรื่องความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนบน TikTok ได้รับยอดวิวกว่า 1,000 ครั้ง เธอหวังว่าคอนเทนต์ที่ทำจะช่วยให้นักเรียนระดับมัธยมปลายรับรู้สถานการณ์มากกว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับการสอนในชั้นเรียน และแจ้งข้อมูลข่าวสารให้คนที่อาจจะไม่ดูทีวีหรืออ่านหนังสือพิมพ์

ฮินตันกล่าวว่า เธอปรับภาษาที่ใช้ในวิดีโอให้เหมาะกับผู้ชมที่อายุน้อย รวมถึงการเล่นสำนวนและวลีที่เข้าใจง่าย

เธอบอกว่า “ฉันรู้สึกว่า TikTok มีบทบาทอย่างมากในการทำให้เราได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นพื้นที่ที่เราได้แสดงความคิดเห็นของเรา”

รัสเซียเริ่มถอนทหารหลังซ้อมรบ ขณะที่ปูตินหารือกับนายกฯเยอรมนี

แม็กซิม หนึ่งในผู้ทำคอนเทนต์วิดีโอบน TikTok ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 29,000 คน มียอดดูคลิปเกือบ 1 ล้านครั้งสำหรับวิดีโออธิบายข้อสงสัยว่า รัสเซียจะบุกยูเครนจริงหรือไม่

สำหรับคนที่ติดตามสถานการณ์อย่างจริงจังกว่านั้น พวกเขายังใช้ม TikTok ในการเฝ้าดูการเคลื่อนกำลังพลและศึกษาอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียอีกด้วย

ไมเคิล เชลดอน นักวิเคราะห์จาก Digital Forensic Analysis Lab ของ Atlantic Council กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา เขาได้ตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพรัสเซียผ่าน TikTok

“TikTok เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซีย” เชลดอนกล่าว

ด้านหน่วยงานของสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้คำตอบว่า มีการ TikTok ในการรวบรวมข้อมูลหรือเฝ้าระวังความเคลื่อนไหลและแสนยานุภาพของรัสเซียหรือไม่

หุ้นวิ่ง "ทองคำ-น้ำมัน"ร่วง รับข่าวรัสเซียถอนทหารจากชายแดนยูเครน

เรียบเรียงจาก Reuters

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ