ข่าวแห่งปี 2564 : 2 ปี เผชิญโควิด-19 "ไวรัสกลายพันธุ์เขย่าโลก กับ ความหวังสารพัดสูตรวัคซีน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

2 ปี ที่คนทั้งโลกได้รู้จักและเผชิญกับ "โคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่" ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า โควิด-19 และตอนนี้ก็ได้กลายพันธุ์มาแล้ว 6 สายพันธุ์หลัก ล่าสุดคือ โอมิครอน ซึ่งกำลังลุกลามใกล้จะเป็นสายพันธุ์หลักในไม่ช้า เราเผชิญอะไรกันมาบ้าง ความหวังทั้งวัคซีนและยารักษามีความคืบหน้าถึงไหน เราไปทบทวนตลอด 1 ปี 2564 ที่ผ่านมา ก่อนจะก้าวสู่ปี 2565 ที่โควิด-19 ก็จะยังอยู่เพียงแต่จะอยู่กับเราในรูปแบบใดเท่านั้นเอง

ตลอดปี 2564 ทั่วโลกและประเทศไทยยังคงเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19  ซึ่งดูเหมือนจะเลวร้ายลงจากปีก่อนหน้า จากสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อทะยานขึ้นแตะระดับร้อยล้านราย และล่าสุด (ธ.ค.2564) ใกล้ระดับ 300 ล้านราย กับ 6 สายพันธุ์ 

ข้อมูลการขายสัตว์ป่า “ตลาดเมืองอู่ฮั่น” ความหวังใหม่สืบหาต้นตอโควิด-19

จีนเตรียมศึกษาตัวอย่างเลือดในธนาคารเลือดอู่ฮั่นเพื่อสืบหาต้นตอโควิด-19

สายพันธุ์แรก  สายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine) รหัสไวรัส S พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยซึ่งเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวชาวอู่ฮั่น

จากนั้นเริ่มมีคลัสเตอร์ต่างๆ แต่ที่ใหญ่ที่สุดและเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดคือ คลัสเตอร์สนามมวยลุมพินีในปี 2563  และในปี 2564 เป็นคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร จากแรงงานต่างด้าว โดยในครั้งนั้นส่งผลให้ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร หรือ ผู้ว่าฯปู ติดโควิด-19 ขณะปฏิบัติหน้าที่และต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลศิริราชนานกว่า 80 วัน

เปิดใจ ผู้ว่าฯสมุทรสาคร กลับบ้านแล้ว หลังรักษาตัวนาน 82 วัน    

เปิดภาพความเป็นอยู่สถานกักตัว ตลาดกลางกุ้ง

เปิดใจ “ผู้ว่าฯปู” ขอสู้โควิดในสมุทรสาคร ทิ้งทวน ก่อนย้ายไปอ่างทอง

นายกฯชี้ โควิดสมุทรสาครระบาดรอบใหม่ ย้ำ “ไม่ประมาท การ์ดไม่ตก”

สำหรับอาการของ สายพันธุ์อู่ฮั่น แบ่งเป็น อาการทั่วไป ไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย อาการรุนแรง หายใจลำบาก-หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

สายพันธุ์ต่อมาที่เข้ามาแทนที่ สายพันธุ์อู่ฮั่น คือ  สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) จุดเริ่มต้นจากสหราชอาณาจักร ต่อมา องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็น สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) ขณะที่ประเทศไทยเกิดขึ้น จากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ และค่อยๆ กระจายไปในต่างจังหวัด จนคลอบคลุมไปเกือบทุกพื้นที่ในประเทศ ในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ (2564) โดยมีรหัสไวรัส สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) คือ B.1.1.7  

หมออธิบายชัด ระบาดระลอกใหม่ "คลัสเตอร์ทองหล่อ" โควิดสายพันธฺฺุ์อังกฤษ มาจากกัมพูชา

4 คนใกล้ชิด"ศักดิ์สยาม"ไปเที่ยวผับทองหล่อ

ผลแยกเชื้อ คลัสเตอร์สถานบันเทิงทองหล่อ เจอโควิดสายพันธุ์อังกฤษ เชื้อแรง แพร่เร็วมากกว่าเท่าตัว

ด้วยความรุนแรงของสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์หลักอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการคือ มีไข้สูง ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามร่างกายและศีรษะ สูญเสียการรับรู้รส กลิ่น 

ต่อมาคือ สายพันธุ์ เดลตา (Delta) สายพันธุ์ที่ส่งผลอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขไทย สถานการณ์ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล เตียงไม่พอ เตียงไอซียูเต็มจนล้น เกิดโรงพยาบาลสนามหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลสนามบุษราคัม เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รับมืออย่างหนักต่อจำนวนผู้ป่วยในประเทศรายวันพุ่งขึ้นนิวไฮทุกวัน สูงสุดที่ 23,418 ราย (13 ส.ค.64) เสียชีวิตหลักร้อยคนต่อวัน 

"ถอดบทเรียนสายพันธุ์เดลตาทั่วโลก" พบ ติดเชื้อแตะหมื่นติดต่อกันมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์สูง

“เดลตา” ระบาด 120 ประเทศ เป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯ และหลายประเทศ

กรมควบคุมโรคเตือนโควิดสายพันธุ์เดลตาติดง่าย สังเกตอาการยาก

และที่เลวร้ายคือพบผู้ป่วยเสียชีวิตตามบ้าน บางรายพบอยู่ในท้องถนน เนื่องจากรถพยาบาลไม่เพียงพอที่จะรับผู้ป่วยได้ทั้งหมดภายในวันเดียว ควบคู่ไปกับเมรุเผาศพตามวัดต่างๆ ที่ชำรุดลงหลังต้องรองรับผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ซึ่งต้องทำพิธีฌาปนกิจภายในวันเดียวกัน

ความสำคัญและความอันตรายของ โควิด-19 "สายพันธุ์เดลตา"

สธ.เผยสถานะเตียงเต็มจนทะลัก เปิดข้อมูลหลังล็อกดาวน์ยอดพุ่ง 3 จว.วันนี้เกิน 1,000 คลัสเตอร์ใหม่เพียบ

ภาพหดหู่! รพ.กลางกรุงเทพฯ เตียงเต็มขั้นวิกฤต จนท.ต้องสวมชุดพีพีอี เอ็กซเรย์กลางถนน

วัดสุทธิสะอาด รับเผาผู้ป่วยโควิด 3 ศพ/วัน หวั่นเมรุพัง เจ้าอาวาสชี้สถานการณ์วิกฤตหนัก

วัดบางน้ำชน เผาศพโควิด จนเตาระเบิด-เมรุพัง

นอกจากนั้น ยังเกิดวิกฤต หน้ากากอนามัยขาดแคลน ยาขาดแคลน เครื่องวัดระดับออกซิเจน เจลแอลกฮอล์ ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรขาดตลาด ฯลฯ ได้เห็นระบบการรักษาตัวแบบ Home Isolation หรือการรักษาตัวที่บ้านในกรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง และ Community Isolation หรือศูนย์กักโรค ศูนย์พักคอยในชุมชน โดยการแบ่งระดับสีของผู้ป่วยคือ แดง เหลือง เขียว

“ไม่ต้องรอ RT-PCR ” ผล ATK บวก เข้ารักษา Home isolation ได้ทันที

เรื่องเล่า "สถานการณ์โควิด-19" เตียงเต็ม รถพยาบาลรับส่งคิวแน่น

แต่อีกด้านหนึ่งก็ได้ความร่วมมือกันของภาคประชาชน เช่น  กลุ่มเส้นด้าย ที่เข้ามาช่วยประสานหาเตียง แจกจ่ายยาและอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน

เปิดใจอาสาเส้นด้าย"ภูมิใจช่วยผู้ป่วยโควิด-19"

สำหรับ สายพันธุ์ เดลตา (Delta) พบครั้งแรกใน ประเทศอินเดีย เข้าสู่ประเทศไทย พฤษภาคม 2564 และถูกประกาศให้เป็น สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC)  รหัสไวรัส: B.1.617.2 ในไทยจุดเริ่มต้นจากคลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ แพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่และเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

Home Isolation ทางรอด ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล

Home Isolation วิธีปฎิบัติตัวผู้ป่วยโควิดเมื่อจำเป็นต้องกักตัวที่บ้าน

อาการ-ความรุนแรงของ สายพันธุ์ เดลตา (Delta) คือ ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน จะมีอาการปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส และอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ สายพันธุ์ เดลตา (Delta) กลายเป็นสายพันธุ์หลักการตรวจแบบ RT-PCR เข้าถึงยากและมีราคาแพง และจำนวนความต้องการตรวจล้น ทำให้ประเทศไทยเริ่มนำเข้าชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็วหรือ ATK เพื่อการตรวจเบื้องต้น

แนะวิธีสังเกตชุดตรวจโควิด -19 ATK

เปิดประสิทธิภาพของ ATK ที่ใช้ในประเทศไทย ผ่าน อย.แล้ว 193 รายการ

สธ. อนุมัติขายชุดตรวจ ATK ผ่านร้านค้า-ออนไลน์

นอกจากนี้ ทาง 3 จังหวัด ชายแดนใต้ พบสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ  สายพันธุ์เบตา (Beta) รหัสไวรัส: B.1.351 พบครั้งแรกใน ประเทศแอฟริกาใต้ เข้าสู่ประเทศไทย มกราคม 2564 แต่ปัจจุบันสามารถควบคุมการแพร่ระบาดในวงจำกัดได้

ไทม์ไลน์สายพันธุ์เบตา จาก นราธิวาส สู่ กทม. พบ 1 ราย อยู่ในความดูแลของแพทย์แล้ว

นักวิจัยไม่กังวลโควิดสายพันธุ์เบตาระบาด

ขณะที่อาการ คือ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ ท้องเสีย  ตาแดง รับรส-รับกลิ่นผิดปกติ และมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี หากลงปอด จะหายใจลำบาก หายใจถี่ มีเสมหะในปอด เจ็บหน้าอก และสูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

อีกสายพันธุ์ที่เข้ามาช่วงที่สายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์แกมมา (Gamma) รหัสไวรัส: P.1 เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) พบครั้งแรกใน ประเทศบราซิล เข้าสู่ประเทศไทย พฤษภาคม 2564 จากผู้ที่เดินทางกลับมาประเทศไทย ในสถานกักกันของรัฐรายหนึ่ง และสามารถควบคุมได้

ปัจจุบันมาถึง สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) รหัสสายพันธุ์ B.1.1.529  เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC)  พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ และพบในประเทศไทยช่วงวันที่ 1 ธันวาคม เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศสเปน ในระบบ เทส แอนด์ โก (Test & Go) และสามารถรักษาได้ทัน 

กทม. ยกระดับเตรียมรับมือสถานการณ์ "โอมิครอน" ระบาด พร้อมเพิ่มจุดฉีดวัคซีน เข็ม 3

กทม. ยกเลิกจัดงานปีใหม่ - สวดมนต์ข้ามปี 2565 ลานคนเมือง หวั่นโอมิครอนแพร่กระจาย

แต่ต่อกลับพบสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบัน 205 ราย (24 ธ.ค.64) และพบรายแรกที่เกิดในประเทศไทยซึ่งติดจากสามีที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ขณะเดียวกัน คลัสเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ  จากสองสามีภรรยาที่เดินทางมาจากประเทศเบลเยียม จนเกิดการระบาดใน จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งพบว่ามีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนแล้ว 20 ราย

แต่ที่น่าวิตกคือ สายพันธ์โอมิครอน แพร่เร็วสายพันธุ์เดลตาและคาดว่าจะมาเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคจ ซึ่งมีอาการหลักๆ 5 อาการที่ควรสังเกตคือ 1.เจ็บคอ 2.ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย 3. เหนื่อยมาก 4. ไอแห้ง  5. เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องแอร์ ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า 

พบ "โอมิครอน" รายแรกในไทยเดินทางจากสเปน

อัปเดต "โอมิครอน" ในไทย 205 ราย คลัสเตอร์ใหญ่สุด "สามี-ภรรยา มาจากเบลเยียม"

เจอ"โอมิครอน"รายแรกในประเทศ หญิงไทยอายุ 49 ปีติดเชื้อจากสามีเป็นนักบิน

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

3 จาก 5 อาการหลักต้องสงสัย "โอมิครอน" ถ้ามีอย่าเพิ่งไปฉลอง

อาการเบื้องต้นของสายพันธุ์ "โอมิครอน"

แต่ขณะเดียวกันแม้ว่าทั่วโลกและไทยยังคงเผชิญกับโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธุ์ แต่ในปี 2564 นี้ ยังเป็นปีแห่งความก้าวหน้าทางการแพทย์ มีวัคซีนและยาต้านโควิด-19 หลายชนิดหลากยี่ห้อถูกพัฒนาขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ

“วัคซีนโควิด” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google

วัคซีนโควิด-19 ที่ WHO ยอมรับ

WHO ออกคำแนะนำฉบับเต็ม ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต่างชนิด ทั้ง " สูตรไขว้-เข็มกระตุ้น"

กำหนดสัปดาห์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ 100 ล้านโดสตามเป้าหมายใน 9 วัน

ในปี 2563 เป็นปีที่โลกยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาวัคซีนที่จะสามารถต่อสู้กับโควิด-19 ได้ โดยในปีที่แล้ว มีวัคซีนโควิด-19 ตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาได้สำเร็จและได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO)

นั่นคือวัคซีนโควิด-19 ของ “ไฟเซอร์ (Pfizer)” ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดย WHO ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง mRNA ซึ่งสามารถผลิตโปรตีน SARS-CoV-2 ได้ เพื่อให้ร่างกายได้เรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน

ข่าวดี! อย. อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ในกลุ่มเด็ก 5 - 11 ปี

วัคซีนชนิดนี้ไม่มีตัวไวรัสจริง ๆ และไม่สามารถทำให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ จึงเป็นที่สนใจของหลายฝ่าย รวมถึงประชาชนในประเทศไทยที่เรียกร้องให้มีการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์มาโดยตลอด

และเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2564 แค่ปีนี้ปีเดียว ก็มีวัคซีนโควิด-19 อีกเกือบ 10 ยี่ห้อที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา และได้รับการยอมรับจากองค์กรสากล

วัคซีนตัวที่สอง (และอาจนับเป็นสาม) ที่ WHO ให้การยอมรับ คือวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ของบริษัท “แอสตร้าเซเนก้า (Astrazeneca)” ได้รับการอนุมัติในวันที่ 15 ก.พ. 2564 เป็นการอนุมัติควบให้กับวัคซีนของแอสตร้าฯ ที่ผลิตโดยสถาบันเซรั่มอินเดีย (SII) ที่ใช้ชื่อวัคซีนว่า “โควิชิลด์ (Covishield)”

WHO อนุมัติฉุกเฉินแล้ว วัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้า "ล็อตผลิตในไทย"

วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า/โควิชิลด์พัฒนาโดยใช้อะดีโนไวรัสของชิมแปนซีที่ดัดแปลงพันธุกรรมใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ลงไปด้วย เพื่อใช้เป็นเวกเตอร์หรือพาหะ เมื่อนํามาฉีดเข้าร่างกาย ไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติและกระตุ้มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

วัคซีนตัวต่อมาสร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไม่น้อย คือวัคซีนของ “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)” ได้รับการอนุมัติใช้โดย WHO เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2564 เป็นไวรัลเวกเตอร์เช่นเดียวกัน แต่สามารถฉีดได้เข็มเดียวจบ

ต่อมาในวันที่ 30 เม.ย. 2564 วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA จากอีกหนึ่งบริษัทคือ “โมเดอร์นา (Moderna)” ก็ได้รับการอนุมัติใช้ เป็นการฉีดเศษเสี้ยวรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ให้สร้างแอนติบอดีที่สามารถต่อสู้กับไวรัสได้

สำหรับวัคซีนโมเดอร์นานี้ เป็นหนึ่งในวัคซีนเจ้าปัญหาของไทย เพราะนำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผ่านบริษัทคู่ค้า ซึ่งมาอย่างล่าช้าจนหลายคนถอดใจและหันไปฉีดวัคซีนตัวอื่นแทน

ผลทดสอบเบื้องต้น “โมเดอร์นา 3 เข็ม” กระตุ้นภูมิต้าน “โอมิครอน” ได้

นอกจากวัคซีนจากฟากตะวันตกแล้ว ชาติตะวันออกก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีวัคซีนโควิด-19 จากจีนอย่าง “ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)” ที่ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการทำวัคซีนแบบดั้งเดิม โดยประเทศไทยเองก็มีการนำเข้าผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ต่อจากซิโนฟาร์ม ก็มาถึงคิวของวัคซีนโควิด-19 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในไทยอย่าง “ซิโนแวค (Sinovac)” ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายจากจีนเช่นเดียวกัน แต่กลับถูกตั้งคำถามอย่างหนักว่า ป้องกันโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ แต่ WHO ก็ให้การการันตี ด้วยการประกาศอนุมัติใช้กรณีฉุกเฉินในวันที่ 1 มิ.ย. 2564

องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มใช้ในกรณีฉุกเฉิน

รู้จัก “ ซิโนแวค” วัคซีนโควิด-19 ก่อนฉีดเข็มแรกให้คนไทย

ลำดับต่อมายังคงเป็นวัคซีนจากภูมิภาคเอเชีย โดย “โคแวกซิน (Covaxin)” เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายสัญชาติอินเดีย พัฒนาโดยบริษัท ภารัต ไบโอเทค ได้รับการรับรองเมื่อ 3 พ.ย. 2564 ปัจจุบันมี 12 ประเทศทั่วโลกที่นำไปใช้งาน

และล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมานี้ WHO เพิ่งอนุมัติการใช้วัคซีนโควิด-19 “โคโวแวกซ์ (Covovax)” และ “นูแวกโซวิด (Nuvaxovid)” ของบริษัท “โนวาแวกซ์ (Novavax)” เป็นวัคซีนอนุภาคนาโนชนิดรีคอมบิแนนท์ ประเทศไทยยังไม่มีการนำวัคซีนชนิดนี้มาใช้งาน

องค์การอนามัยโลก ขึ้นทะเบียน วัคซีนโควิดของ "โนวาแวกซ์" ใช้กรณีฉุกเฉิน

วัคซีนโควิด-19 สัญชาติไทยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากวัคซีนโควิด-19 ของต่างประเทศที่ WHO ให้การรับรองแล้ว ประเทศไทยเอง ก็ได้มีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของตัวเองขึ้นมาเช่นกัน ดังนี้

วัคซีนชนิด mRNA ตัวแรกของไทย ChulaCov-19” โดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวโน้มจะสามารถขึ้นทะเบียนและใช้อย่างกว้างขวางได้ในปี 2565

คืบหน้าวัคซีนโควิด สัญชาติไทย 2 ตัว คาดได้ใช้ปี 65

ครม.เคาะงบสนับสนุนวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด ChulaCov19

วัคซีน HXP–GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม คล้ายไวรัลเวกเตอร์ ในปี 2565 จะดำเนินการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 และช่วงไตรมาส 3 คาดว่าจะมีข้อมูลครบถ้วนที่จะยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย.

วัคซีนโควิด-19 HXP-GPOVac เจาะลึก วัคซีนไทยมาตรฐานสากล โดยองค์การเภสัชกรรม

วัคซีนใบยา วัคซีนจากใบพืชโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มทดสอบในมนุษย์แล้ว คาดว่ากลางปี 2565 อาจเห็นวัคซีนคนไทยเสร็จสมบูรณ์อีกตัวหนึ่ง

วัคซีนโควิด-19 ชนิดพ่นจมูก “แนสแว็ก” โดยไบโอเทค อยู่ระหว่างยื่นเสนอต่อ อย. เพื่อขออนุญาตนำวัคซีนมาทดสอบกับมนุษย์ แต่ก็ยังติดปัญหาที่ขณะนี้ไม่มีทุนวิจัย

พัฒนายารักษาโควิด-19 สำเร็จ

นอกจากเรื่องของวัคซีนโควิด-19 แล้ว อีกหนึ่งทางออกสำคัญ คือการมียารักษาโควิด-19 โดยเฉพาะ ในกรณีที่วัคซีนเอาไม่อยู่ หรือนำไปใช้ในประชากรกลุ่มที่มีภาวะทางการแพทย์ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ประเภทยาต้านโควิด-19 ที่คนพูดถึงคือ “โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody)” หรือโปรตีน/เซลล์ที่ผลิตในห้องแล็บ ซึ่งเลียนแบบความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อที่เป็นอันตรายอย่างเฉพาะเจาะจง

“รีเจนคอฟ (REGEN-COV)” คือหนึ่งในยาต้านโควิด-19 ชนิดโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะถูกใช้ในการรักษาอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อครั้งที่เจ้าตัวติดโควิด-19 และต่อมาได้รับอนุมัติให้สามารถนำมาใช้ได้โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) พบว่าป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 81% และลดโอกาสป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ 70%

โมโนโคลนอลแอนติบอดีอีกตัวที่น่าสนใจคือ “เอวูเชลด์ (Evusheld)” โดยบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 77% และลดโอกาสป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ 50% และได้รับการรับรองโดย FDA เช่นกัน

แอสตร้าเซเนก้า เผย ยา Evusheld แบบผสม สามารถลบล้างฤทธิ์โอมิครอนได้

นอกจากนี้ หลายบริษัทยังพัฒนายาต้านโควิด-19 ที่เป็นยาเม็ดหรือยาแคปซูลขึ้นมา เพราะสะดวก ต่างจากโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

โดยยาเม็ดตัวแรกที่มีข่าวออกมาว่าน่าจะประสบความสำเร็จคือ “โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)” ของบริษัท “เมอร์ค (Merck)” ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า ลดโอกาสป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ 30-50% และควรรับยาภายใน 5 วันหลังเริ่มแสดงอาการ ล่าสุดวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมาเพิ่งได้รับการอนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก FDA

อย.สหรัฐฯ อนุมัติใช้ “โมลนูพิราเวียร์” ยาเม็ดต้านโควิด-19 ตัวที่สอง

และยาเม็ดอีกตัวที่มาแรงไม่แพ้กันคือ “แพกซ์โลวิด (Paxlovid)” โดยไฟเซอร์ ซึ่ง FDA อนุมัติให้ใช้ได้เมื่อ 22 ธ.ค. นี้ หลังศึกษาพบว่า ลดโอกาสในการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้เกือบ 90%

ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ยารักษาโควิด-19 ตัวที่ 2 ของโลก

ยาทั้งหมดที่ระบุมาข้างต้น ล้วนเป็นยาที่ต้องรับภายในเวลาไม่นานหลังติดเชื้อ เพราะจะแสดงประสิทธิภาพได้ดีที่สุด หากผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการป่วยหนักหรือรุนแรง อาจต้องหันไปใช้ยาตัวอื่นที่ไม่ใช่ยารักษาโควิด-19 โดยเฉพาะ แต่นำมาปรับใช้ตามสถานการณ์ เช่น เรมดิซิเวียร์ ฟาวิพิราเวียร์ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ คือความคืบหน้าทางการแพทย์ด้านวัคซีนและยาสำหรับรับมือโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี 2564 นี้ ต้องติดตามกันต่อในปีหน้า 2565 ว่า สถานการณ์โควิด-19 จะเป็นอย่างไรต่อไป และวัคซีนและยาที่โลกพัฒนาขึ้นมานี้ จะสามารถยืนหยัดต้านไวรัสร้ายตัวนี้ได้หรือไม่

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ