รู้จัก “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ประเพณีสำคัญของคนเมืองคอนคู่วันมาฆบูชา

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รู้จัก “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” ประเพณีสำคัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช งานบุญใหญ่เพียงหนึ่งเดียวของประเทศ ที่จัดขึ้นในวันสำคัญทางพุทธศาสนาอย่าง “วันมาฆบูชา” เก่าแก่นับพันปี

ชวนทำความรู้จักประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเฉพาะวันสำคัญทางพุทธศาสนา “ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ” ประเพณีเก่าแก่ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่มีปฏิบัติกันในที่อื่นใดของประเทศไทย

แม้จะมีมานานจนไม่อาจยืนยันแน่ชัดได้ว่า เริ่มขึ้นมาเมื่อใด แต่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเพณีนี้ว่า อาจเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1333 ในสมัยพระเจ้าสามพี่น้อง จนถึงตอนนี้เป็นเวลา 1,233 ปีมาแล้ว

คอนเทนต์แนะนำ
ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2567 อย่างไรให้ถูกขั้นตอน และได้อานิสงส์ผลบุญ
9 อาหาร และ สิ่งของ ไม่ควรนำมาใส่บาตร อาจทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติได้

ตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ตำนานเล่าขานกันว่า ในสมัยพระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และ พระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ เรียกว่า “พระบฎ” หรือ “พระบต” ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวบ้านจึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือน จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ

จนได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือกลับถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนคร มีผู้รอดชีวิตเพียง 10 คนเท่านั้น ส่วนพระบฎถุกซัดขึ้นฝั่งปากพนัง

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงพิจารณาเห็นว่าควรนำไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ในคราวเดียวกับการสมโภชพระบรมธาตุ ซึ่งเจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนคร จัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ และกลายเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน

คอนเทนต์แนะนำ
รวมที่เวียนเทียน 2566 ใน "วันมาฆบูชา" เช็กแลนด์มาร์กน่าไปทั่วประเทศ ที่นี่!
หนึ่งเดียวในโลก! “เวียนเทียนกลางน้ำ” ประเพณีจังหวัดพะเยา ในวันมาฆบูชา
"มาฆบูชา 2568" เตรียมของทำบุญ-ถวายพระ เสริมสิริมงคล

รู้จักประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเรียกว่า “พระบฏ” ในวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งชาวนครมักร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธา เพื่อนำไปซื้อผ้าแล้วมาเย็บต่อๆ กัน ความยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์

และด้วยชาวนครรับพุทธศาสนามาจากอินเดีย เรายึดถือกันว่าหากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริงๆ ต้องปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์เท่านั้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จสู่ปรินิพพาน กราบได้กราบไหว้ตัวแทนของพระพุทธองค์ อย่างการนำผ้าโอบรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นั้น จึงเท่ากับการบูชาที่กราบไหว้พระพุทธองค์ด้วย

ในอดีตพระบฏอาจมีช่างผู้ชำนาญเขียนภาพสี และประดับด้วยแพรพรรณและดอกไม้ที่แถบขอบผ้าตลอดทั้งผืน แต่ปัจจุบันอาจเป็นเพราะสภาพสังคมที่หาเวลาว่างไม่ค่อยได้ หรืออาจขาดช่างผู้ชำนาญ ทำให้การประดับประดาและเขียนภาพที่พระบฏสูญหายไป ผ้าที่นิยมใช้กันจึงเป็นผ้าสี่เหลี่ยม มักมีสีขาว สีเหลือง สีแดง แต่สีขาวจะยังคงมีการเขียนภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน

ทำไมถึงจัดตรงกับ “วันมาฆบูชา”

ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” และมีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชา ได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย

การแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันวันมาฆบูชา และในวันวิสาขบูชา อย่างที่เราได้เห็นกันทุกวันนี้

การจัดงานปี 2566

การจัดงานในปีนี้ จะเริ่มขึ้นในช่วงวันที่ 2-6 มีนาคม 2566 ดังนี้

  • 2-4 มีนาคม 2566

เวลา 09.00 น. พิธีสวดด้าน ณ พระวิหารคด วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

  • 2 มีนาคม 2566

เวลา 14.00 น. สวดมนต์ฟังธรรม เจริญจิตภาวนา ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ศาลา 100 ปี วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

  • 3 มีนาคม 2566

เวลา 08.30 น. กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชา ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพระนครศรีธรรมราช

เวลา 10.00 น. พิธีส่งมอบผ้าพระบฏพระราชทานให้อำเภอปากพนัง ณ โรงเรียนปากพนัง อ.ปากพนัง

  • 4-6 มีนาคม 2566

เวลา 10.00-19.00 น. มหกรรมเครื่องถมนครฯ “ชมหลาด ถมนครฯ” ณ ลานหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

  • 4 มีนาคม 2566

เวลา 15.00 น. พิธีกวนข้าวยาคู ณ บริเวณลานหน้าพิพิธภัณฑ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 16.30 น. เสวนา “เครื่องถมเมืองนครฯ”, ผู้ว่าฯ ชวนทอล์ค “มาฆะ มานะ มานครฯ” และ โขน เรื่องรามเกียรติ์ “พรหมพงศ์ วงศ์อสุรา” ณ เวที ททท.ลานหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 19.00 น. สมโภชผ้าพระบฏพระราชทาน ณ โรงเรียนปากพนัง อ.ปากพนัง

คอนเทนต์แนะนำ
แจกฟรี! ภาพพื้นหลังรับ "วันมาฆบูชา" เสริมมงคลรับวันพระใหญ่
130 แคปชันวันพระ สายบุญ เข้าวัด ทั้งทีต้องบอกโซเชียล
อาสาฬหบูชา 2567 บทสวดมนต์เวียนเทียน สวดบทไหนเสริมมงคลให้กับตัวเอง

 

  • 5 มีนาคม 2566

เวลา 15.00-16.30 น. พิธีรับมอบและสมโภชผ้าพระบฏพระราชทาน และผ้าพระบฏหน่วยงานต่างๆ ณ สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช

เวลา 17.30 น. เสวนา : “ตำนานเรื่องเล่าผ้าพระบฏ” และ การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ณ เวที ททท.ลานหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

  • 6 มีนาคม 2566

เวลา 06.30 น. พิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณถนนราชดำเนินด้านหน้า วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 14.00 น. ปล่อยริ้วขบวนผ้าพระบฏพระราชทาน จากสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ถึง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 16.00 น. พิธีถวายผ้าพระบฏ ณ บริเวณลานโพธิ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 17.00 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม “โนราบูชาพระธาตุ” เป็นพุทธบูชา ณ ลานหน้าพระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

เวลา 18.30 น. พิธีเวียนเทียนมาฆบูชา  ณ บริเวณลานโพธิ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ขอบคุณภาพจาก : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน)

คอนเทนต์แนะนำ
มาฆบูชา 2568 : ทำความเข้าใจ “การเวียนเทียน” ทำไมถึงสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
5 เมนูถวายพระสงฆ์เพื่อสุขภาพ รับวันวิสาขบูชา พร้อมเปิดสูตรวิธีทำ
บทสวดมนต์ “วันมาฆบูชา” เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต

 

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ