น้ำตา-โลหิต-ควันปืน ปี 2022 โลกแห่งความขัดแย้งและการสูญเสีย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ประมวล 10 ข่าวเด่นต่างประเทศ สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับโลกของเราในปี 2022 นี้

ปี 2022 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงนี้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเรื่องราวมากมายขึ้นบนโลกของเรา ทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศที่สร้างผลกระทบไปทั้งโลก ทั้งการสูญเสียบุคคลสำคัญระดับโลกไปอย่างไม่คาดคิด ทั้งโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดโลก ไปจนถึงเรื่องดี ๆ อย่างความสำเร็จในแวดวงวิทยาศาสตร์

นิวมีเดีย พีพีทีวี ประมวล 10 ข่าวเด่นต่างประเทศ สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับโลกของเราในปีนี้

มหากาพย์ Forex-3D "หลอก - ลวง - โกง" มูลค่านับพันล้าน

บทสรุปความทรงจำฟุตบอลโลก 2022 บนดินแดนทะเลทราย

อาลัยคนบันเทิง “ดาวดับ” ปี 2565

รัสเซียยูเครน

ผ่านมาจะครบ 1 ปีแล้วนับจากวันที่ 24 ก.พ. ที่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศเริ่ม “ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน” นอกจากชีวิตและทรัพย์สินที่ต้องสูญเสียไปอย่างไม่สมควรแล้ว ผลพวงโดยอ้อมของความขัดแย้งครั้งนี้ยังทำให้ตลาดเชื้อเพลิงและอาหารปั่นป่วน ถีบตัวขึ้นสูงทั่วโลก

เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่า ในปีหน้า สงครามครั้งนี้จะดำเนินไปในทิศทางไหน แต่ ณ วันนี้ยังคงไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า สงครามครั้งนี้จะไปจบลงที่ตรงไหน

วิเคราะห์ 5 ทิศทาง สงครามรัสเซีย-ยูเครนในปีหน้า 2023

รัสเซียเหลือทุนทรัพย์แค่ไหนในการทำสงครามกับยูเครน?

สาเหตุ "รัสเซียบุกยูเครน” ไทม์ไลน์สรุปที่มาความขัดแย้ง

สมเด็จพระชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสด็ตสวรรคตด้วยพระชนมพรรษา 96 พรรษา เมื่อวันที่ 8 ก.ย. ยังความโศกเศร้าเสียใจมาสู่พสกนิกรชาวอังกฤษ ซึ่งสะท้อนชัดผ่านปรากฏการณ์ต่อแถวยาวหลายสิบกิโลเมตรเพื่อเข้าถวายความเคารพและอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย

เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ เถลิงพระนาม พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งพระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานในการอุทิศพระชนม์ชีพ ทำงานรับใช้ประชาชน เฉกเช่นเดียวที่พระราชมารดาทรงปฏิบัติมาตลอดรัชสมัย

เจาะลึกลำดับการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษ หลังควีนเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต

ประวัติ “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักร

โลกอาลัย! สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคตอย่างสงบ

คดีลอบสังหารอดีตผู้นำญี่ปุ่น “ชินโซ อาเบะ”

อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ถูกลอบยิงด้วยประดิษฐ์ขณะกำลังกล่าวปราศรัยที่จังหวัดนารา ผู้ก่อเหตุถูกจับกุมตัวไว้ได้ทันที คือ ยามากามิ เท็ตสึยะ อดีตนาวิกโยธินประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น

ยามากามิอ้างว่า มูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุคือ เขาเชื่อว่าอาเบะมีส่วนเกี่ยวพันกับกลุ่มลัทธิทางศาสนา “โทอิตสึเคียวไค” หรือ “โบสถ์แห่งความสามัคคี” ซึ่งทำให้แม่ของเขาบริจาคเงินประมาณ 100 ล้านเยน (ราว 26 ล้านบาท) จนหมดตัว

แม่มือยิง “ชินโซ อาเบะ” บริจาคเงินให้ลัทธิ "โทอิตสึเคียวไค" 100 ล้านเยน

ด่วน! “ชินโซ อาเบะ” อดีตนายกฯ ญี่ปุ่น เสียชีวิตแล้ว จากเหตุการณ์ลอบสังหาร

ประวัติ ชินโซ อาเบะ ผู้ครองตำแหน่งนายกญี่ปุ่นยาวนานที่สุด

โศกนาฏกรรมฮาโลวีนเลือด “อิแทวอน”

29 ต.ค. หรือ 2 คืนก่อนเทศกาลฮาโลวีนจะมาถึงอย่างเป็นทางการ ได้เกิดโศกนาฏกรรมที่ย่านอิแทวอนของกรุงโซล ประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากมารวมตัวกันเพื่อสังสรรค์ในเทศกาลวันปล่อยผีนี้

ที่จุดหนึ่งของย่านอิแทวอนซึ่งเป็นทางเดินไปยังคลับและผับบาร์ต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเพียงตรอกกว้างไม่ถึง 4 เมตร เมื่อนักท่องเที่ยวมารวมตัวกันมากเกินไปก็ทำให้เกิดความแออัด เกิดการเบียดเสียดและเหยียบกันจนมีผู้เสียชีวิตถึง 158 ราย และบาดเจ็บอีก 197 คน

จนท.ตร.เกาหลีใต้ จบชีวิตตัวเอง หลังเอี่ยวลบข้อมูลแจ้งเหตุวันฮาโลวีนย่านอิแทวอน

อิแทวอน ถนนนานาชาติ หลากวัฒธรรม กลางกรุงโซล เกาหลีใต้

สาวไทยใน "อิแทวอน" เล่าวินาทีเกิดเหตุ เห็นคนล้มต่อหน้าเป็นโดมิโน่

หวิดเกิดสงคราม “เพโลซี” เยือนไต้หวัน

โลกหวิดจะเกิดอีกหนึ่งสงครามขนานไปกับรัสเซีย-ยูเครน เมื่อ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวันท่ามกลางคำคัดค้านและคำขู่จากทางการจีน ซึ่งมองว่านี่เป็นการยั่วยุทางการเมืองครั้งใหญ่ ถือเป็นการหยามนโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” และเป็นการสนับสนุนให้ไต้หวันพยายามแบ่งแยกดินแดนออกมาจากจีน

สถานการณ์ทวีความตึงเครียดขึ้นเมื่อจีนจัดให้มีการซ้อมรบใกล้กับพรมแดนไต้หวัน เกิดกระแสคาดเดาไปต่าง ๆ นานาว่า จีนจะยิงเครื่องบินของเพโลซีตกหรือไม่ เพราะนั่นอาจจะเป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ แต่จีนไม่ได้ทำเช่นนั้น และเพียงประกาศตัดความสัมพันธ์ในหลาย ๆ ด้านกับสหรัฐฯ เท่านั้น

จีนระงับความร่วมมือสหรัฐฯ 8 ด้าน ตอบโต้การเยือนไต้หวันของ “เพโลซี”

“แนนซี เพโลซี” แจงเหตุผลชัด ๆ ทำไมต้องไปเยือนไต้หวันให้ได้?

“แนนซี เพโลซี” ปธ.สภาสหรัฐฯ เดินทางถึงไต้หวัน ย้ำ สนับสนุนประชาธิปไตย

ประท้วงต้านล็อกดาวน์ ปรากฏการณ์เหลือเชื่อในจีน

ในปี 2022 ประเทศจีนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคิดฝันว่าจะเกิดขึ้นในดินแดนที่เหมือนจะถูกปกครองอย่างเข้มงวดนี้ นั่นคือ “การประท้วงขับไล่ผู้นำจีน สี จิ้นผิง” โดยมีชนวนเหตุมาจากมาตรการ “Zero COVID” หรือการควบคุมและป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวดเกินพอดีของจีน

แม้เหตุการณ์นี้จะเปรียบเสมือนเปลวไฟที่ปะทุขึ้นมาวูบหนึ่งแล้วดับมอดลง เพราะสถานการณ์ถูกปรามและควบคุมในเวลาไม่นาน แต่ก็แสดงให้หลายฝ่ายเห็นแล้วว่า ประชาชนในจีนไม่ได้พอใจนักกับการปกครองของจีนในปัจจุบัน และกำแพงเมืองจีนที่ว่าแข็งแกร่ง ก็อาจเปราะบางกว่าที่คิด

สถานการณ์โควิด-19 ในจีนจะนำไปสู่การระบาดของสายพันธุ์ใหม่หรือไม่?

จีนปลดล็อกโควิด-19 แบบไม่พร้อม อาจทำคนตายเฉียดล้าน!

เส้นทางประท้วงใหญ่ในจีน ความไม่พอใจที่ลุกลามเป็นการขับไล่ “สี จิ้นผิง”

มหากาพย์ดีลเกือบล่ม อีลอน มัสก์–ทวิตเตอร์

มหากาพย์ดีลเจ้าปัญหาระหว่าง(อดีต)มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกอย่าง อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งเทสลาและสเปซเอ็กซ์ กับบริษัททวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยม จากการเจรจากันดี ๆ กลับกลายเป็นดราม่ายกใหญ่ กว่าจะเข้าซื้อกิจการกันได้ เล่นเอาตลาดหุ้นปั่นป่วนไปตาม ๆ กัน

หลังจากที่ปิดดีลซื้อขายได้ในช่วงปลายเดือน ต.ค. ก็ไม่วายเกิดดราม่าอีกยก เมื่อมัสก์เจ้าของใหม่สั่งปลดผู้บริหารชุดเดิม และสั่งปลดพนักงานไปครึ่งบริษัท และมีพนักงานลาออกเองอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหลายคนในนี้นี้ทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของทวิตเตอร์ ทำให้สภาพของทวิตเตอร์กลายเป้นง่อนแง่นสุด ๆ

จากดราม่าทั้งหลายที่ไม่ใช่แค่เรื่องปลดพนักงานออก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บค่าบลูมาร์ก การแบนบัญชีนักข่าว การขู่แบนลิงก์ที่เชื่อมไปยังเฟซบุ๊ก-อินสตาแกรมจนกระแสตีกลับ ล่าสุด อีลอน มัสก์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารแล้ว แต่เรื่องทั้งหมดจะจบลงและดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องติดตามกัน

ทำตามคำพูด! “อีลอน มัสก์” ประกาศลาออกซีอีโอทวิตเตอร์

กลับมาได้ไหม? ทวิตเตอร์วอนพนักงานที่ถูกปลดบางส่วนให้กลับมา

ปั่นหุ้นหรือเปล่า? มหากาพย์คู่ค้าดีลล่ม “อีลอน มัสก์-ทวิตเตอร์”

เงินเฟ้อ “ติดจรวด”

ในปี 2022 นับว่าเป็นปีที่เงินเฟ้อทั่วโลก “ทะยานขึ้น” อย่างดุเดือด คาดว่าเฉลี่ยเงินเฟ้อทั่วโลกจะอยู่ที่นระดับ 9% ทำให้ภาพก่อนหน้านี้ ในปี 2019 เป็นปีที่เงินเฟ้อ “ต่ำแบบสุด ๆ” ได้หายไปจากความทรงจำ 

สาเหตุของเงินเฟ้อทั่วโลก เริ่มต้นจากผลกระทบจากมาตรการคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กระทบต่อภาคการผลิตทั่วโลก หรือ “ห่วงโซ่อุปทาน” และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ “อุปสงค์” หรือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้น

ธนาคารกลางหลายประเทศขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และพยายามแก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน แต่ก็มาเผชิญกับวิกฤติอาหารและพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมีปัจจัยเพิ่มขึ้น เมื่อบรรดาธุรกิจปรับตัวรับสารพัดความเสี่ยง โดยไม่ได้จ้างงานเป็นพนักงานประจำ แต่จ้างงานเป็นคอนแทค ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า นั่นทำให้เงินเฟ้อไม่ลดลง แม้จะแก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานได้ก็ตาม

เช็กสถานการณ์แรงงาน "ค้าปลีก-โรงแรม-ภัตราคาร จ้างเพิ่ม" แต่ค่าจ้างยังเจอพิษเงินเฟ้อ

ส่งออก ต.ค. 65 หดตัว 4.4% พิษเงินเฟ้อสูงทำคู่ค้าชะลอ

ท่องเที่ยวคึกคัก หนุนเศรษฐกิจไทยปี 66 แนวโน้มฟื้นตัว เงินเฟ้อผ่านจุดพีคแล้ว

ตลาดคริปโทฯ จากสูงสุดสู่สามัญ

คริปโทเคอร์เรนซี เป็นเงินแห่งอนาคตเมื่อเริ่มต้นปี ทำให้ราคาทะยานขึ้นสูงสุด ก่อนจะร่วงลงอย่างหนักจนถึงสิ้นปี 2565 จากบิตคอยน์ที่ราคา 68,000 ดอลลาร์ ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 17,000 ดอลลาร์ พร้อม ๆ กับมูลค่าการซื้อขายในแต่ละวันลดลงอย่างฮวบฮาบ ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่านักลงทุนเริ่มหายไปจากตลาด

มูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซีในปลายปี 2565 อยู่ที่ราว 8.5 แสนล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา ลดลงกว่า 3 เท่าตัว ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยในแต่ละวันลดลงจาก 1.31 แสนล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค. เหลือ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือน ธ.ค. ลดลงมากกว่าครึ่ง

ถอดบทเรียนปี65 การลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง หุ้น-คริปโทฯ หลังยุคโควิด19

3 เหตุผล คริปโทเคอร์เรนซี "ขาดคุณสมบัติของเงิน" ยากที่จะเข้าระบบธนาคาร

เปิดพฤติกรรมคนไทยลงทุนคริปโท "รู้น้อย-อยากรวยเร็ว"

ปีแห่งความก้าวหน้าการศึกษาดาราศาสตร์

องค์การนาซา (NASA) ได้ปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) หรือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทรงพลังที่สุดที่มนุษย์เคยสร้าง ขึ้นสู่อวกาศเมื่อปลายปี 2021 แต่เพิ่งส่งภาพถ่ายกลับมาในปีนี้ ซึ่งนอกจากความสวยงามและความแปลกตาแล้ว ภาพเหล่านี้ยังมีคุณค่ามหาศาลในการศึกษาดาราศาสตร์

อีกหนึ่งความก้าวหน้าด้านการศึกษาอวกาศของมนุษย์ในปีนี้ คือความสำเร็จของภารกิจ อาร์เทมิส วัน (Artemis) ของนาซา ที่ส่งยานโอไรออนไปยังดวงจันทร์ เพื่อปูทางสู่การส่งมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 50 ปี

“พวงมาลาดวงดาว” ภาพความงดงามของจักรวาลส่งท้ายปีจาก “เจมส์ เว็บบ์”

นาซาเผยภาพใหม่ “เจมส์ เว็บบ์” วินาทีสองกาแล็กซีหลอมรวมเป็นหนึ่ง

“กาแล็กซีชนกัน” ภาพสุดยอดหาชมยากจาก “เจมส์ เว็บบ์”

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ